DeFi เกิดขึ้นตอนไหนมีความเสี่ยงหรือไม่

DeFi เกิดขึ้นตอนไหน มีความเสี่ยงหรือไม่ เรื่องควรรู้ก่อนลงทุน

วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทุกวันนี้เทคโนโลยีมีการพัฒนาก้าวกระโดดอย่างรวดเร็ว รวมถึงการนำบล็อกเชนเข้ามาใช้ทำธุรกรรมต่าง ๆ แต่ตัวที่เราจะพูดถึงนั่นก็คือ DeFi ( Decentralized Finance ) หรือ การเงินแบบกระจายอำนาจ ข้อมูลจากเว็บไซต์ Bitkub กล่าวไว้ว่า DeFi คือแอปพลิเคชันทางการทำธุรกรรมการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่จำเป็นต้องมีตัวกลางอย่างธนาคารหรือสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งต่อยอดมาจากเทคโนโลยีบล็อกเชน ทำหน้าที่คอยจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ โดยแพลตฟอร์ม DeFi สามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง

DeFi เทคโนโลยีบล็อกเชน ที่สร้างขึ้นบน อิเธอเรียม

DeFi ถูกสร้างขึ้นบน Ethereum Chain เนื่องจาก อิเธอเรียม ใช้ภาษาโปรแกรม Solidity ที่ง่ายต่อการสร้าง Smart Contract และ อิเธอเรียม ยังเป็นเครือข่ายบล็อกเชนที่ใหญ่ที่สุดรองจาก บิทคอยน์ และมีผู้ใช้เป็นจำนวนมาก DeFi เกิดขึ้นมาจากความต้องการทำธุรกรรมทางการเงินที่รวดเร็ว ไร้ตัวกลาง และมีค่าใช้จ่ายต่ำ การทำธุรกรรมทางการเงินแบบเดิม ๆ ต้องทำรายการผ่านสถาบันการเงินหรือธนาคาร ในการสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะมีค่าธรรมเนียมสูง และยังต้องใช้เวลาในการดำเนินการอีกด้วย DeFi จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อทำให้ระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถส่งและรับรายการธุรกรรมการเงินได้อย่างรวดเร็ว บนระบบบล็อกเชนโดยมีค่าธรรมเนียมที่น้อยเมื่อเทียบกับการทำธุรกรรมแบบดั้งเดิม 

DeFi แพลตฟอร์มเสมือนธนาคารออนไลน์ ที่ให้ดอกเบี้ยสูง

DeFi เป็นแพลตฟอร์มเสมือนธนาคารออนไลน์ที่ฝากเงินไว้เพื่อไปปล่อยที่อื่นต่อ เงินที่นำมาฝากจะเป็นสกุลเงิน คริปโตเคอเรนซี ทำให้ดอกเบี้ยของ DeFi สูงกว่าเงินบาท 100% สาเหตุที่ DeFi ได้รับดอกเบี้ยอัตราสูงมาก เนื่องจากไม่มีตัวกลาง ทำให้ระบบต่าง ๆ มีต้นทุนน้อย จึงทำให้ได้รับดอกเบี้ยเต็มเม็ดเต็มหน่วยมากกว่าระบบแบบเดิม ๆ ในโลกของ DeFi เราสามารถสร้างสกุลเงินของตัวเองขึ้นมา และเปิดโอกาสให้คนเข้ามาฝากเงินกับเราได้ ฉะนั้น เมื่อเป็นสกุลเงินที่สร้างขึ้นเอง เราสามารถให้ดอกเบี้ยสูงได้ นั้นเอง

DeFi แพลตฟอร์มเสมือนธนาคารออนไลน์ มีความเสี่ยงหรือไม่

เว็บไซต์ DappRadar.com เป็นเว็บไซต์จัดอันดับผู้ให้บริการ DeFi ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้เปิดโอกาสให้คนที่มีเงินสกุล คริปโตเคอเรนซี นำเงินไปฝากไว้ซึ่งมีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ stake การ farm และ การทำ yield farming อย่างที่เรารู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าการลงทุน คริปโตเคอเรนซี ย่อมมีความเสี่ยง และระบบ DeFi ก็มีความเสี่ยงเฉพาะตัวด้วยเช่นกัน เพราะว่าระบบ DeFi ถูกสร้างบนแพลตฟอร์มของ อิเธอเรียม เมื่อบล็อกเชนของ อิเธอเรียม ซึ่งปัญหาที่อาจตามมาได้คือความค้างคาของรายการธุรกรรมต่าง ๆ และค่าธรรมเนียมที่แพงขึ้นในช่วงเวลานั้น ๆ นั่นเอง

รูปแบบของ DeFi ที่ได้รับความนิยม มีหลากหลายรูปแบบให้เลือกใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้นั่นเอง รูปแบบของ DeFi ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดได้แก่ Decentralized Exchanges ( DEXs ) คือแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนสกุลเงินดิจิทัลต่าง ๆ ที่เชื่อมต่อผู้ใช้กับผู้ใช้โดยตรง ( Peer-to-Peer ) เพื่อให้ผู้ใช้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยไม่ต้องพึ่งพาตัวกลางนั้นเอง