คริปโตเคอเรนซีถูกมองว่าเป็น อนาคตของเงิน

คริปโตเคอเรนซีถูกมองว่าเป็น อนาคตของเงิน ในประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อติดลบ

ภาวะเงินเฟ้อที่กำลังรุนแรง ไม่ได้เกิดขึ้นในทุกประเทศ ยังมีอีกหลายประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อสูงมาก หรือมูลค่าของเงินสกุลในประเทศนั้นลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทำให้ประชาชนในประเทศนั้นจะต้องมองหาสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้มาป้องกันสินทรัพย์ของตนเองไม่ให้ลดลงตามค่าเงินภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะเลือกที่ทองคำ เป็นตัวเลือกแรกที่ดีที่สุดในตอนนี้ แต่สำหรับประชาชนทั่วไปการซื้อทองคำมาเก็บไว้นั้นทำได้ยุ่งยากและอันตรายอย่างมาก ทำให้เกิดกระแสของการใช้คริปโตเคอเรนซีเพื่อเป็นสินทรัพย์รักษามูลค่าขึ้นมาทดแทน

คริปโตเคอเรนซี ถูกมองว่าเป็นอนาคตที่ช่วยแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้

ประชาชนในประเทศที่สกุลเงินมีมูลค่าลดลงในหลายประเทศจำเป็นต้องมีเหรียญคริปโตเคอเรนซี แต่สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วจะเป็นเพียง การลงทุนเก็งกำไรเท่านั้น เป็นมุมมองที่แตกต่างกันจากภาวะที่เกิดขึ้นซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองที่มีต่อคริปโตเคอเรนซีในแต่ละประเทศ

เมื่อปีที่แล้ว คริปโตเคอเรนซี มาถึงจุดเปลี่ยน ตามรายงานของ Global State of Crypto ของ Gemini ในปี 2022 คริปโตเคอเรนซีได้พัฒนาจากสิ่งที่นักลงทุนมองว่าเป็นการเก็งกำไรไปสู่สินทรัพย์ที่รักษามูลค่า ตามรายงานว่าจำนวนกว่า 41% ของเจ้าของคริปโตเคอเรนซีทั่วโลก เริ่มซื้อคริปโตเคอเรนซีเป็นครั้งแรกในปี 2021 และมีจำนวนผู้ถือครองคริปโตเคอเรนซีกว่าครึ่ง เป็นประชาชนในบราซิลที่ 51% ฮ่องกงที่ 51% และอินเดียที่ 54%

เมื่อดูรายชื่อแต่ละประเทศที่ซื้อมากที่สุดในอันดับต้น ๆ นั้นจะพบว่าปัญหาค่าเงินของประเทศนั้นกำลังลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ในประเทศบราซิลนั้นลดลงถึง 218% และค่าเงินแรนด์ของแอฟริกาใต้ก็ได้มีมูลค่าลดลงกว่า 103% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงมากทำให้ประชาชนในประเทศเหล่านี้เริ่มให้ความสนใจ คริปโตเคอเรนซี กันมากขึ้น

แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่าง ๆ ที่มูลค่าเงินนั้นไม่ได้ลดลงมากนัก คริปโตเคอเรนซี เป็นเพียงแค่การลงทุนอีกหนึ่งรูปแบบเท่านั้น ซึ่งมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไปกับประเทศที่กำลังประสบกับปัญหาค่าเงินอ่อนตัวลง

นักวิเคราะห์มองว่า คริปโตเคอเรนซี จะเข้ามาทดแทนได้หรือไม่

Winston Ma อดีตกรรมการผู้จัดการและหัวหน้าในสาขาอเมริกาเหนือของ China Investment Corporation และปัจจุบันเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ New York University School of Law ได้สร้างความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสินทรัพย์ที่ทำงานเป็นการป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อและสินทรัพย์ที่ใช้แทนสกุลเงิน

คริปโตเคอเรนซี เช่น บิทคอยน์ ( BTC ) ยังไม่ได้รับสถานะ “การป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ” ซึ่งแตกต่างจากทองคำในมุมมองของเขา ในปี 2565 พวกเขาทำตัวเหมือนหุ้นเติบโต “Bitcoin มีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับดัชนี S&P 500 และ Ether กับ NASDAQ มากกว่าทองคำ ซึ่งถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ”

แต่ก็มีมุมมองอื่น ๆ ที่แตกต่างกันอย่างเช่นนักวิชาการบางคนได้มองว่า “ในตลาดเกิดใหม่ เช่น บราซิล อินเดีย และเม็กซิโกที่กำลังดิ้นรนกับภาวะเงินเฟ้อ อัตราเงินเฟ้ออาจเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของการนำ คริปโตเคอเรนซี ไปใช้แทนเงินในประเทศ”

Justin d’Anethan ผู้อำนวยการฝ่ายขายสถาบันของ Amber Group ชาวสิงคโปร์ กล่าวว่า “ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงแรก ๆ และตอนนี้การยอมรับยังคงถูกขับเคลื่อนโดยประเทศที่มีเสถียรภาพของค่าเงินหรือการเข้าถึงบริการธนาคารที่เหมาะสม” หรือก็คือ ประเทศที่กำลังพัฒนาสนใจทางเลือกอื่นมากกว่าที่จะลดค่าเงินในประเทศ

Sean Stein Smith ผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาเศรษฐศาสตร์และธุรกิจที่ Lehman College กล่าวกับ Cointelegraph ว่าเขาไม่แปลกใจกับผลการสำรวจนี้เป็นพิเศษ “เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีและยังคงผลักดันการยอมรับให้ บิทคอยน์ และคริปโตเคอเรนซีอื่น ๆ กลายเป็นทรัพย์สินไปทั่วโลก”

สำหรับมุมมองที่แตกต่างกันของนักวิชาการนั้นเป็นการมองจากสถานะของ คริปโตเคอเรนซี ตามความสำคัญของแต่ละประเทศแต่โดยรวมแล้วยังมองว่า คริปโตเคอเรนซี สามารถเป็นสินทรัพย์ที่รักษามูลค่าได้ เพียงแต่ยังไม่ใช่ในตอนนี้ ซึ่งจริง ๆ แล้วเหรียญคริปโตเคอเรนซีนั้นยังมีสิ่งที่ใช้ทดแทนเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ได้อย่าง Stablecoin ที่น่าจะเป็นตัวเลือกแรกที่จะสนับสนุนให้ประเทศที่ประสบปัญหาของค่าเงินนั้นใช้เพื่อรักษามูลค่าได้ในตอนนี้