5 วิธีที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ในช่วงสงคราม

5 วิธีที่ช่วยป้องกันการโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ในช่วงสงคราม

การโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล ทางฝั่งของผู้ไม่หวังดีนั้นจะคิดค้นวิธีการที่จะเจาะระบบป้องกัน และใช้ประโยชน์จากจุดอ่อนของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานทั่วไป หรือแม้แต่ระบบเครือข่ายที่ใช้งานทั้งบริษัท และประชาชนก็ถูกเหล่าแฮกเกอร์นั้นพยายามที่จะเจาะเข้ามาอยู่เสมอ โดยที่มุ่งเน้นไปที่การโจรกรรมข้อมูลและการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเปลี่ยนแปลง แล้วเรียกค่าไถ่ ซึ่งเป็นแนวทางที่แฮกเกอร์นั้นนิยมใช้มากในเวลานี้ ส่วนมากแล้วผู้ที่ประสบกับการถูกโจรกรรมนั้นจะเป็นนักลงทุนที่ไม่ค่อยได้เข้าใจเทคโนโลยีต่าง ๆ มากนัก ไม่รู้วิธีการป้องกันและหลีกเลี่ยง นักลงทุนแบบนี้จะตกเป็นเหยื่อให้ถูกโจรกรรมได้มากที่สุด และยิ่งในช่วงของสงครามเหล่าแฮกเกอร์ที่แอบแฝงยิ่งใช้ช่วงโอกาสนี้เข้ามาโจรกรรมกันมากขึ้น นักลงทุนนั้นจะมีวิธีการป้องกันได้อย่างไรบ้าง

วิธีการปกป้องบัญชีสินทรัพย์ดิจิทัลของคุณเอง

รูปแบบของการโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่เหล่าแฮกเกอร์นั้นนิยมใช้กันอย่างมากในตอนนี้มีหลากหลายรูปแบบทั้งอย่างเช่น Phishing, Scams, Ransomware, Malware หรือ การเจาะเข้าระบบโดยตรง แต่ละแบบนั้นก็เกิดขึ้นบ่อยครั้งกับนักลงทุนทั่วโลก สำหรับรูปแบบที่นักลงทุนชาวไทยนั้นถูกโจรกรรมมากที่สุดก็จะเป็นดังนี้

5 อันดับที่ถูกใช้โจรกรรมมากที่สุดในประเทศไทย

  • มัลแวร์จากเว็บทราฟฟิก มักพบขณะกำลังใช้งานเว็บที่ติดเชื้อหรือโฆษณาออนไลน์ต่างๆ
  • การดาวน์โหลดโปรแกรมหรือไฟล์บางชนิดจากอินเทอร์เน็ตโดยไม่ตั้งใจ
  • การดาวน์โหลดไฟล์แนบอันตรายจากบริการอีเมลออนไลน์
  • การใช้ส่วนขยายของเบราเซอร์ ( browser extensions )
  • การดาวน์โหลดส่วนประกอบต่างๆ การสื่อสารทางไซเบอร์ ( C&C ) ที่ดำเนินการโดยมัลแวร์

ถ้าหากมองโดยรวมก็จะเห็นว่าส่วนใหญ่แล้วแฮกเกอร์นั้นจะพยายามโจมตีไปยังผู้ที่อ่อนต่อเทคโนโลยี ที่บางครั้งอาจจะพลาดคลิ๊กลิ้งค์ต่าง ๆ หรือกรอกข้อมูลในเว็บไซต์ปลอมที่ได้เลียนแบบขึ้นมา จนเกิดการสูญเสียสินทรัพย์ดิจิทัลและข้อมูลต่าง ๆ ไปให้ผู้ไม่หวังดี สำหรับแนวทางการที่จะช่วยป้องกันเบื้องต้นให้นักลงทุนเพื่อไม่ให้เกิดการสูญเสียนั้นก็จะมีดังนี้

  • ห้ามเปิดอีเมลจากผู้ส่งที่ไม่รู้จัก
  • ห้ามเปิดไฟล์เอกสาร เว้นแต่คุณจะรู้จักผู้ส่งและยืนยันว่าพวกเขาส่งเอกสารให้คุณเป็นไฟล์แนบ
  • โปรดระวัง ถ้าหากข้อมูลที่ได้รับฟังดูดีเกินจริง ให้ถือว่าเป็นการฟิชชิ่งเอาไว้ก่อน
  • ห้ามสานต่อคำร้องขอหรือการโทรจากฝ่ายตรงข้าม แม้ว่าคุณจะรู้จักสถาบันการเงิน หรือธนาคารนั้นก็ตาม หากคุณกังวลใจ ให้วางสาย และติดต่อธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้น เพื่อยืนยันว่าพวกเขาพยายามติดต่อคุณ
  • ห้ามแชร์ข้อมูลส่วนบุคคลทางโทรศัพท์ อีเมล หรือทางโซเชียลมีเดียเด็ดขาด

ทั้งหมด 5 วิธีนี้เป็นขั้นตอนง่าย ๆ ที่จะช่วยป้องกันเบื้องต้นให้กับนักลงทุนได้ ไม่ให้สินทรัพย์ดิจิทัลของนักลงทุนนั้นถูกโจรกรรมไป นักลงทุนนั้นควรที่จะจำแนวทางทั้งหมดนี้ไว้ เมื่อเจอกับเหตุการณ์ที่เสี่ยงต่อการถูกโจรกรรม ให้นึกถึงแนวทางในการป้องกันนี้เพื่อช่วยลดโอกาสการถูกโจรกรรมได้มากขึ้น

ทำไมการโจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล นั้นมีอยู่ตลอดเวลา

หลังจากที่สกุลเงินดิจิทัลได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เหล่าแฮกเกอร์นั้นมีแรงจูงใจที่จะขโมยเงินสกุลดิจิทัลกันมากขึ้น ในขณะที่แฮกเกอร์ในประเทศกำลังพัฒนา เช่น ไนจีเรีย บังคลาเทศ ตูนิเซีย และ ไลบีเรีย มีแนวโน้มว่าจะมีแฮกเกอร์คริปโตเคอเรนซี มากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งในช่วงนี้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย จีน เกาหลีเหนือ อิหร่าน สหรัฐอเมริกา และชาติตะวันตก ที่กำลังแย่ลง อาจสนับสนุนให้อาชีพแฮกเกอร์สินทรัพย์ดิจิทัล ในประเทศเหล่านี้มีมากขึ้น เพราะรายได้ที่ได้รับจากโจรกรรมมาได้แต่ละครั้งตามรายงานข่าวนั้นมากมายมหาศาลเลยทีเดียว

สงคราม ยูเครน รัสเซีย ทำให้เกิดสงครามไซเบอร์ สร้างแฮกเกอร์ที่โจรกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น

การที่กองทหารรัสเซียเคลื่อนเข้าสู่ยูเครน ส่งผลทำให้สหรัฐฯ และยุโรปได้เริ่มคว่ำบาตรรัฐบาลรัสเซียและบรรดาผู้มีอำนาจ ยิ่งรัสเซียส่งทหารเพื่อปรามกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครนมากเท่าไหร่ ตะวันตกก็ยิ่งเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติม มากขึ้นเรื่อย ๆ 

ก่อนกองทหารของรัสเซีย จะเริ่มเคลื่อนพลเข้าเมืองหลวงยูเครน กองทัพของรัสเซียได้เจาะระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในเมืองหลวงยูเครนก่อนเข้าโจมตี เป็นการทำสงครามไซเบอร์ที่ส่งผลจริงต่อสงคราม

และในช่วงท่ามกลางสภาวะที่ซัพพลายและสินค้าต่าง ๆ ถูกส่งเข้าไปในยูเครนได้ยาก มูลค่าเงินของทั้งสองประเทศนั้นอ่อนตัวลง สกุลเงินดิจิทัลเริ่มเห็นผลในการใช้งานสำหรับสภาวะแบบนี้มากขึ้น มูลค่าของสกุลเงินดิจิทัลนั้นก็เติบโตขึ้น เหล่าแฮกเกอร์ก็ได้เล็งเห็นจึงได้มีการทำการโจรกรรมสูงมากขึ้นกว่าปกติในช่วงสงครามนี้