ปธ.อีซีบี มองการคุมเข้มนโยบายเพื่อจัดการเงินเฟ้อ

ปธ.อีซีบี มองว่าการคุมเข้มนโยบายเพื่อจัดการเงินเฟ้อ อาจทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจชะงัก

จากการประกาศเงินเฟ้อที่สูงสุดในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา FED ได้มีแนวทางการออกนโยบายขึ้นอัตราดอกเบี้ยและลด QE เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อนั้นสูงมากไปกว่านี้ และเริ่มลดลงมาอยู่ในระดับที่เป็นปกติ ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์หลายคนได้ทำการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการ ประกาศนโยบายทางการเงินของ FED รวมถึง ประธานธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) ก็ได้มีมุมมองต่อนโยบายการเงินของ FED ดังนี้

ประธานธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) มีมุมมองต่อการแก้ปัญหาเงินเฟ้อ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว

นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป ( อีซีบี ) ได้กล่าวว่า อัตราเงินเฟ้อนั้นจะลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงไม่ควรคุมเข้มนโยบายทางการเงินใด ๆ  เพราะนั่นอาจจะทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหยุดชะงักลงได้

“เมื่อคาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะลดลง จึงไม่สมเหตุผลที่จะจัดการด้วยการปรับนโยบายให้เข้มงวดขึ้น การคุมเข้มนโยบายจะไม่กระทบเศรษฐกิจจนกว่าผลกระทบผ่านพ้นไปแล้ว”

นโยบายการเงินที่คุมเข้มในขณะนี้จะจำกัดรายได้ในภาคครัวเรือน ซึ่งกำลังเผชิญกับผลกระทบจากต้นทุนพลังงาน และ สินค้า อุปโภค บริโภค ต่าง ๆ ที่พุ่งสูงขึ้นมาก จนทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจลดลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจ

ภาวะเงินเฟ้อ มีผลต่อคริปโตเคอเรนซีอย่างไร

ในภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นทำให้ค่าใช้จ่ายทั้งในภาคประชาชนและภาคบริษัทต่าง ๆ นั้นมีทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่งให้ผลราคาสินค้า ราคาค่าบริการต่าง ๆ นั้นทยอยปรับขึ้นตามไปด้วย ส่งผลอย่างแน่นอนต่อประชาชนที่จำเป็นต้องซื้อสินค้าในการ อุปโภค บริโภค แต่สำหรับนักลงทุนนั้นการที่เกิดเงินเฟ้อกลับเป็นผลดีต่อ การลงทุนเหรียญ คริปโตเคอเรนซี มากขึ้น เพราะสินทรัพย์เสี่ยงนั้นสามารถใช้เพื่อต้านเงินเฟ้อได้ นักลงทุนควรที่แบ่งพอร์ตการลงทุนเข้ามายัง คริปโตเคอเรนซี ส่วนหนึ่ง เพื่อใช้เป็นสัดส่วนสำหรับต้านเงินเฟ้อ ทำให้สินทรัพย์ของนักลงทุนนั้นไม่ได้ลดลงตามเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น