Dine Together คือ Game-Fi ที่เปิดโอกาสให้เพื่อน ๆ ได้เป็นเจ้าขอกิจการร้านอาหารของตัวเอง ที่เริ่มต้นจากร้านอาหารเล็ก ๆ ให้กลายเป็นภัตาคารอาหารใหญ่สุดหรู นอกจากนี้เพื่อน ๆ ยังสามารถตกแต่งร้านอาหารของตัวเองให้ออกมาสวยงามได้ตามความพึงพอใจอีกด้วย วันนี้เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ Dine Together ให้มากยิ่งขึ้น
มารู้จักกับ Dine Together กัน ! ภาพรวมเกมคร่าว ๆ
Dine Together เป็น Game-Fi ประเภท Play-To-Earn ที่มีธีมคือการบริหารร้านอาหารบนโลกของเหล่าสัตว์ ๆ ชนิดต่าง ๆ บนโลก รันอยู่บน Factory Chain โดย Dine Together มีจุดเด่นในด้านของงานภาพเป็นอย่างมาก ออกแบบมาได้น่ารักแบบสุด ๆ รวมไปถึง NFT ที่มีหลากหลายชนิดให้เพื่อน ๆ ได้เลือกซื้อกันเพื่อเพิ่มคุณภาพของภัตตาคาร รวมไปถึงความสวยงามได้ตามความต้องการของเพื่อน ๆ อีกด้วย ตัว Dine Together จะใช้เหรียญหรือ Token สองตัวได้แก่ DINE (Dine Tokens) ใช้ในการซื้อขายของภายใน Marketplace โดยเหรียญ DINE มีจำนวนจำกัดอยู่ที่ 300,000 เหรียญ และ เหรียญ TIP (TIP Tokens) เอาไว้ซื้อของภายในเกม ซึ่งเหรียญ TIP จะไม่มีจำนวนจำกัด
ขวัญใจสายช้อปปิ้งกับ NFT มากมายใน Dine Together
นี่คือ 1 ในสิ่งที่ดึงดูดเพื่อน ๆ ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้เห็น Dine Together กันเลยทีเดียว กับไอเท็มต่าง ๆ หรือเจ้า NFT นั่นเอง นอกจากจะมีความน่ารักน่าครอบครองแล้ว ยังเป็นหัวใจสำคัญของ Dine Together อีกด้วย NFT ในเกม Dine Together มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่
NFT Chef
เป็นสิ่งแรกที่ผู้จะเริ่มเล่น Dine Together ทุกคนควรหามาไว้ครอบครองอย่างน้อย 1 ใบ เพื่อที่จะให้สามารถเล่นเกมนี้ได้ ซึ่งเราสามารถหา Chef ได้จากการซื้อขายผ่านตลาด ( Marketplace ) การจ้าง Chef โดยตรงจาก Offering ในส่วนของหัวข้อนี้ต้องใช้เหรียญ FUSD ในการซื้อ และสุดท้ายคือ การรวม Card เพื่อที่จะได้ Chef มาใช้งาน โดย Chef ในเกมก็เปรียบเสมือน Chef ในชีวิตจริง ยิ่งเป็น Chef ที่มีฝีมือหรืออยู่ในระดับสูง ก็จะมีสกิลในการทำอาหารที่มากกว่าเชฟระดับเริ่มต้น นอกจากนี้ใน Dine Together
Chef แต่ละระดับก็จะมีจำนวนการทำอาหารแต่ละเมนูที่แตกต่างกันด้วย หากจำนวนจานของแต่ละเมนูหมดลง เราจะไม่สามารถใช้ Chef คนนั้นได้อีกต่อไปและต้องย่อย Chef ให้กลายเป็น Card แทน
- ระดับ Apprentice Chef ทำอาหารได้ 1 เมนู
- ระดับ Junior Chef ทำอาหารได้ 2 เมนู
- ระดับ Head Chef ทำอาหารได้ 3 เมนู
- ระดับ Master Chef ทำอาหารได้ 4 เมนู
Furniture
หากเรามี Chef ที่ยอดเยี่ยมแล้ว แต่การตกแต่งร้านของเรายังไม่สวยงาม หรือ น่าดึงดูด ก็คงจะไม่มีลูกค้าเข้ามาให้บริการมากพอ การซื้อ Furniture เพื่อนำมาตกแต่งร้านจึงเป็นอีกทางเลือกใน Dine Together ที่จะช่วยให้ลูกค้าของคุณตื่นตาตื่นใจ และยังเป็นการช่วยให้ร้านของคุณสามารถรับลูกค้าได้มากยิ่งขึ้นไปอีก Furniture แต่ละชิ้นจะสามารถหาได้เหมือนกับ NFT อื่น ๆ แต่ Chef จะเพิ่มขึ้นอีกวิธีคือการซื้อผ่าน Shop ภายในเกมโดยการใช้เหรียญ TIP โดย Furniture ใน Dine Together แต่ละชิ้นจะมีค่า Stat ที่แตกต่างกันออกไป 4 ค่า คือ Beauty ( ค่าความสวยงาม ) Expiration Date ( ค่าความทนทาน ) Origin ( จุดกำเนิด ) และระดับของ Furniture
- Beauty ( ค่าความสวยงาม ) Furniture แต่ละชิ้นจะถูกสุ่มค่า Beauty ตามความ Rare ของ Furniture ยิ่งเรานำ Furniture ที่มีค่า Beauty มาก ๆ มาตกแต่งในร้านเยอะ ๆ เราจะยิ่งได้รับ TIP จากลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการเยอะขึ้นด้วย
- Expiration Date ( ค่าความทนทาน ) ยิ่ง Furniture มีระดับสูงเท่าไหร่ ค่าความทนทานจะสูงขึ้นตามด้วย ซึ่งหากค่าความทนทานถูกใช้จนหมดจะไม่สามารถใช้งาน Furniture ชิ้นนั้นได้อีกต่อไป ต้องย่อยเป็นการ์ดเท่านั้น ( การเสิร์ฟอาหาร 1 ครั้ง จะเสียความทนทานของ Furniture ภายใน Land ทั้งหมด )
- Origin (จุดกำเนิด) Furniture แต่ละชิ้นจะบอกจุดกำเนิดว่า Furniture ชิ้นนั้นมาจาก Land ไหน ซึ่งเราควรเลือก Furniture ให้ตรงกับประเภท Land ที่เรากำลังใช้เพื่อที่เราจะได้รับโบนัสค่า Beauty เพิ่มขึ้นอีก ( ยิ่งค่า Beauty เยอะ เราจะยิ่งได้ TIP ต่อ 1 จานเพิ่มขึ้น )
- ระดับของ Furniture สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับได้แก่ Common, Rare, Elite และ Legend โดยแต่ละระดับจะมีค่า Stat ที่แตกต่างกันนั้นเอง
Land
วันหนึ่งหากเราสามารถบริหารจากร้านอาหารเล็ก ๆ ให้พัฒนากลายเป็นภัตตาคารอาหารใหญ่ ๆ ได้แล้ว การมองหาที่ดินใหม่เพื่อที่จะขยายกิจการของเราก็เป็นอีกทางเรื่องหนึ่งที่ดีใน Dine Together การที่เราจะหา Land ดี ๆ ซักแห่ง เราสามารถทำได้โดยการซื้อขายจาก Marketplace หรือซื้อได้โดยตรงจาก Offering เช่นกัน โดยที่ Land จะสามารถแบ่งออกได้ตามแหล่งอารยธรรม ในเกมจะแบ่งประเภท Land ได้ดังนี้
- Asgard
- Olympus
- Shangri-La
- El Dorado
- Camelot
โดยแหล่งอารยธรรมที่ว่ามา จะไปสอดคล้องกับ Furniture ( ค่า Origin ) กล่าวง่าย ๆ คือ หากเราใช้ Land แบบไหน Furniture ที่ใช้ก็ควรใช้ให้ตรงกับประเภทของ Land นั้น ๆ เช่นกัน
Card
Card คือ สิ่งที่ได้จากการย่อย NFT ที่เราใช้จนหมดค่าความทนทานใน Dine Together ประโยชน์ของ Card คือ เมื่อเรามีการ์ดหลาย ๆ ใบ เราสามารถนำ Card ไปรวมกันเพื่อให้ได้ NFT อันใหม่ขึ้นมาได้ ซึ่งค่า Stat ของ NFT อันใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมา ( จำเป็นต้องใช้ DINE และ TIP เป็นค่าใช้จ่ายในการรวม Card ด้วย ) จะยึดจาก Card ที่เราใช้มาเป็นวัตถุดิบ Card ภายในเกมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
- Chef Cards ใช้ในการทำ NFT Chef
- Furniture Cards ใช้ในการทำ NFT Furniture
นอกจากการย่อย NFT ที่ค่าความทนทานหมดแล้ว เรายังสามารถหา Card ได้จาก Marketplace หรืออาจจะได้จากการสุ่มเมื่อมีการจ่ายเงินค่าอาหารอีกด้วย
Dine Together เริ่มเล่นยังไงดี ? ดู Gameplay คร่าว ๆ กัน
เมื่อเข้ามาสู่หน้าร้านของเราใน Dine Together เราจะเห็นแถบโชว์สถานะด้านบน ซึ่งจะบอกค่าพลังงาน ค่าความสวยงาม และ เหรียญ TIP ตามลำดับ ซึ่ง Gameplay ใน Dine Together มีความเข้าใจง่ายโดยเริ่มเล่นตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลย
1. ให้เราคลิ๊กเพื่อเลือก Chef ทำอาหารได้ที่เตา การทำอาหาร 1 จาน ใช้ 1 พลังงาน และทุก 7 โมงเช้า ( 00.00 UTC ) ค่าพลังงานจะถูกรีเซ็ต พลังงานสูงสุดในแต่ละวันจะอยู่ที่ 100 พลังงาน
2. เลือกอาหารที่ Chef ของเราสามารถทำได้ ในส่วนนี้ผู้เล่นจะต้องคำนวณให้ดีว่า อาหารที่เราทำออกมา คุ้มค่า คุ้มเวลา ได้ TIP มากพออย่างที่เราต้องการหรือไม่ เนื่องจากอาหารแต่ละประเภทจะใช้เวลาที่ต่างกันในการทำ และได้ค่า TIP ต่างกันอีกด้วย
3. Chef 1 คน จะสามารถทำอาหารได้ 1 เตาเท่านั้น และเมื่ออาหารถูกทำเสร็จ อาหารเหล่านั้นจะถูกนำไปวางบนชั้นวาง
4. เมื่ออาหารถูกเสิร์ฟ ( ลูกค้า NPC จะเลือกสั่งเฉพาะอาหารที่มีอยู่บนชั้นวาง ) เราจะได้ TIP และ EXP มาไว้ใช้เพื่อไว้ซื้อของตกแต่งมาตกแต่งร้าน และหากเรามี LV ที่มากขึ้นก็จะสามารถปลดล็อคของตกแต่งได้มากขึ้นเช่นกัน
นี่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของระบบเกมที่เพิ่งเปิดได้ไม่นาน ในอนาคตเกม Dine Together จะมีการเพิ่มโหมด PvP เข้ามาให้ผู้เล่นได้เล่น หากใครชอบเกมแนวจัดตกแต่งร้านอาหาร Dine Together เป็นอีกหนึ่งเกมที่คุณไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง สำหรับผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปเริ่มเล่นได้ที่ Official Website Dine Together