ETW PoW

Ethereum PoW คืออะไร แตกต่างกับ Ethereum ปกติอย่างไร

ไม่นานมานี้ คุณเคยได้เห็นข่าวประเด็นเกี่ยวกับ Ethereum กันบ้างแล้ว ตั้งแต่มีการอัปเกรดครั้งประวัติศาสตร์อย่าง The Merge ไปจนถึงการมาของบล็อกเชนน้องใหม่ แต่หน้าเก่าอย่าง Ethereum PoW ซึ่งหลาย ๆ คน คงจะเกิดความสงสัยว่า Ethereum PoW มันคืออะไร แตกต่างกับ Ethereum ปกติอย่างไร แล้วทำไมต้องเกิดขึ้นมา

Ethereum PoW คืออะไร

Ethereum PoW คือ บล็อกเชนน้องใหม่ ที่แยกตัวออกมาจาก Ethereum หลังจากอัปเกรด The Merge โดยมีกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับการอัปเกรด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นนักขุด Ethereum โดยการอัปเกรด The Merge จะทำให้นักขุดไม่สามารถขุด Ethereum ได้อีกต่อไป เพราะด้วยการเปลี่ยนแปลงของระบบการธุรกรรม (Consensun Mechanism) จากแบบ (Proof – of – Work) ที่เป็นแบบเก่า แบบเดียวกับ Bitcoin มาสู่แบบ Proof – of – Stake ที่เป็นแบบใหม่ เพื่อแก้ปัญหาสารพัดต่าง ๆ ที่ Ethereum พบเจอก่อนหน้า รวมไปถึงลดค่าใช้ไฟฟ้าของเครือข่ายไปได้ถึง 0.2% ของพลังงานไฟฟ้าทั่วโลก

ทำไม Ethereum PoW ต้องแยกจาก Ethereum

นักขุดได้รับผลกระทบจากที่เคยขุด Ethereum ได้เดือนละหมื่น ๆ แสน ๆ ต่อไปก็จะขุดไม่ได้อีกแล้ว หลังจากที่ อัปเกรด จึงทำให้มีบุคคลกลุ่มหนึ่งออกมาประท้วงว่า ถ้าทำแบบนี้พวกเขาจะเอาอะไรกิน ลงทุนไปก็เยอะ จึงเป็นที่มาของการแสดงความไม่เห็นด้วยกับการอัปเกรดในครั้งนี้ และไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วย คนกลุ่มดังกล่าวเลือกที่จะ ไม่อัปเกรด Node ของตัวเองให้เป็นเวอร์ชันใหม่แบบเป็นทางการที่ออกมาจากทีมงาน Ethereum โดยตรง แต่ไปเลือกอัปเกรด Node ตัวเองที่ออกมาจากฝ่ายกบฏ พวกเดียวกันแทนเพื่อคงไว้ซึ่งรากเหง้าเดิมของ Ethereum ที่ยังคงสามารถขุดได้เหมือนเดิม

Onsensus Algorithm

Onsensus Algorithm ที่คนในวงการคุ้นเคยกันดีที่สุดก็คือ Proof – of – Work นิยมใช้ในบล็อกเชนรุ่นแรง ๆ อย่าง Bitcon (BTC), Etherum (ETH), Litecoin (LTC) เป็นต้น Pow คือการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย หรือ โหนด (Node) ที่ต้องแข่งขันกันแก้ไขสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อยืนความถูกต้องของธุรกรรม และสร้างบล็อกใหม่ขึ้นบนบล็อกเชน ถ้าหากมี Node ใด แก้ไขสมการได้ก่อน และ สร้างบล็อกขึ้นมา Node อื่น ๆ ในเครือข่าย จะเข้ามาตรวจสอบความถูกต้องของบล็อกนั้นอีกที ก่อนจะส่งขึ้นไปอยู่บนบล็อกเชนแบบถาวร กระบวนการนี้ นิยมเรียกกันว่า “การขุด” ซึ่งคำว่า Work ใน Proof – of – Work เป็นการทำงานของ Node เพื่อแลกกับ สิทธิ์ในการยืนยันธุรกรรม และ รางวัลจากการขุด ระบบ pow ขึ้นชื่อที่สุดของความปลอดภัย ในทางทฤษฎีการที่จะโจมตีเครือข่ายสำเร็จจะต้องมีกำลังในการประมวลมากกว่า 51% ของเครือข่าย ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปได้ยากมาก ยิ่งเครือข่ายบล็อกเชนใหญ่แค่ไหน โอกาสที่จะถูกโจมตีสำเร็จเป็นไปได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม เมื่อเครือข่าย Blockchain แบบ PoW มีผู้ใช้เป็นจำนวนมากขึ้นอยู่เรื่อย ๆ ทำให้ระบบ PoW ที่มีข้อจำกัด ในเรื่องของ Scalability ยังไม่สามารถรองรับจำนวนของธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ จึงส่งผลให้เครือข่ายตอบสนองช้าลง และยังกินพลังงานไฟฟ้าเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อมี Node ที่แข่งกันขุดเป็นจำนวนมากขึ้น ชุดคำสั่งตั้งต้นของบล็อกเชนโดยเฉพาะบิตคอยน์จะสั่งสมการให้มีความยากขึ้น ส่งผลให้ Node ทำงานกันหนักขึ้น ต่อมาเหล่าผู้พัฒนาจึงเริ่มหาวิธีแก้ไขข้อจำกัด ของระบบ PoW ไม่ว่าจะเพิ่มความจุข้อมูลของบล็อก หรือจะเป็นการลดระยะเวลาในการสร้างบล็อก แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างยั่งยืนสักที เหล่านักพัฒนา จึงเปลี่ยนแนวคิดใหม่ หันมาใช้ระบบใหม่ ๆ หนึ่งในระบบที่เป็นที่นิยมก็คือ Proof – of – Stake

ระบบ Proof – of – Work นิยมใช้กันในบล็อกเชนรุ่นแรก ๆ อย่าง Bitcoin (BTC), Ethereum (ETH) หรือ Litecoin (LTC) ขณะที่ ETW PoW มีระบบ Proof – of – Stake นิยมใช้กันในบล็อกเชนรุ่นใหม่อย่าง Cardano (ADA), Polkadot (DOT), หรือ Stella (XLM) Proof – of – Work ใช้พลังประมวลผลของคอมพิวเตอร์ เพื่อแก้สมการทางคณิตศาสตร์ แลกกับสิทธิ์ยืนยันธุรกรรม PoW โดดเด่นในเรื่องของความปลอดภัยสูง แต่มีข้อจำกัดเรื่อง Scalabity ทำให้เครือข่ายตอบสนองช้า เมื่อมีจำนวนธุรกรรมสูง ๆ Proof – of – Stake ผู้ที่จะตรวจสอบธุรกรรมบนบล็อกเชนที่ระบบนี้ได้ต้องมีการฝากสินทรัพย์เข้ามาตามเกณฑ์เพื่อแลกกับสิทธิ์ยืนยัน โดยแต่ละบล็อกเชนจะมีนโยบายในการสุ่มเลือกผู้ยืนยันที่แตกต่างกันออกไป PoS โดดเด่นในเรื่องของความรวดเร็ว แต่ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันว่า ขัดแย้งกับหลักความเป็น Decentralized ที่เป็นหัวใจหลักของบล็อกเชน หรือไม่ ทั้งนี้บล็อกเชนยังเป็น เทคโนโลยีค่อนข้างใหม่ และ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงยังไม่สามารถตัดสินได้อย่างชัดเจนว่า ระบบไหนดีที่สุด ไม่แน่ว่าในอนาคตอาจมีระบบใหม่เกิดขึ้น และได้รับการยอมรับจากทั้งวงการ ดังนั้นเราจึงควร ติดตามข่าวสารของเทคโนโลยีนี้กันอย่างใกล้ชิด