หลังจากที่กระแสของการลงทุนในเหรียญคริปโตเคอเรนซี นั้นร้อนแรงมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในประเทศไทยและในต่างประเทศ ทำให้หลาย ๆ บริษัทชั้นนำของประเทศไทยนั้นเริ่มที่จะเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับ เงินสกุลดิจิทัล นี้กันมากขึ้นทั้งการร่วมลงทุนในบริษัทที่เปิดบริการ เทรดเหรียญคริปโตเคอเรนซี และ ลงทุนเครื่องขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซี เป็นรูปแบบการทำธุรกิจแนวใหม่ที่เริ่มเข้ามาสู่ประเทศไทยมากขึ้น แล้วบริษัทไหนบ้างที่เริ่มมีการลงทุนแนวนี้
บริษัทชั้นนำของไทย เริ่มเข้ามาลงทุนเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี
สินทรัพย์ดิจิทัล เป็นแนวการลงทุนใหม่ล่าสุดที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น บริษัทชั้นนำของประเทศไทยก็เริ่มที่จะเข้ามาลงทุนกันมากขึ้น แต่ละบริษัทนั้นก็เป็น บริษัทที่จดทะเบียน ( บจ. ) ในตลาดหุ้นทั้งสิ้น ทำให้นักลงทุนมีทางเลือกการลงทุนมากขึ้น หากว่าไม่อยากที่จะเข้าไปลงทุนเทรดเหรียญคริปโตเคอเรนซีเองก็เลือกลงทุนในบริษัทต่าง ๆ เหล่านี้เหมือนเป็นตัวแทนในการลงทุน โดยที่รายชื่อบริษัทนั้นจะมีดังนี้
- บมจ.เจ มาร์ท ( JMART ) บริษัทที่ออกเหรียญ JFIN Coin สำหรับใช้ในระบบนิเวศ ( Ecosystem ) เพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการในเครือ
- บมจ.จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น ( JTS ) ลงทุนธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ และเริ่มก่อตั้งการลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัลมากขึ้น
- บมจ.เอเจ แอดวานซ์ เทคโนโลยี ( AJA ) ประกาศลงทุนในธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ โดยเริ่มทยอยจัดซื้อเครื่องขุดบิทคอยน์ จำนวน 200 เครื่อง งบลงทุนรวมไม่เกิน 900 ล้านบาท
- บมจ.แอสเซทไวส์ ( ASW ) ก่อตั้งบริษัทย่อยเพื่อศึกษาและลงทุนเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เน้นที่การพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน ( Blockchain )
- บมจ.บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป ( BROOK ) ลงทุนธุรกิจในสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ เป็นการลงทุนในเหรียญคริปโตเคอเรนซีต่าง ๆ ที่มีการใช้งานสูง รวมถึงมีแผนลงทุนในเหมืองขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซี
- บมจ.คันทรี่ กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ( CGH ) ตั้งบริษัทย่อยเพื่อลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา Metaverse
- บมจ.โคแมนซี่ อินเตอร์เนชั่นแนล ( COMAN ) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจเหมืองขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซี
- บมจ.จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ( GRAMMY ) จับมือพันธมิตรเปิดตลาดขายเพลงในรูปแบบของ NFT
- บมจ.กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ( GULF ) ส่งบริษัทย่อยร่วมลงทุนกับ ไบแนนซ์ เพื่อศึกษาและจัดทำแผนธุรกิจศูนย์กลางซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ( Digital Asset Exchange ) ในประเทศไทย
- ธนาคารกสิกรไทย ( KBANK ) ได้ตั้งบริษัทย่อย คิวบิกซ์ ( Kubix ) ได้รับใบอนุญาตผู้ให้บริการระบบเสนอขายโทเคนดิจิทัล ( ICO Portal ) ขณะที่อีกหนึ่งบริษัทย่อย บีคอน เวนเจอร์ ( Beacon ) เข้าลงทุนในธุรกิจคริปโตเคอเรนซี
- บมจ.เอ็ม วิชั่น ( MVP ) เพิ่มทุนเพื่อขยายธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชน รวมถึงลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล
- บมจ.เอ็นอาร์ อินสแตนท์ โปรดิวซ์ ( NRF ) ตั้งบริษัทย่อยในสหรัฐฯเพื่อลงทุนในธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงธุรกิจเหมืองขุดคริปโตเคอเรนซี
- บมจ.ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ( ORI ) เตรียมออกเหรียญ P COIN เพื่อใช้สำหรับกิจกรรมภายใน และยังมีการประกาศรับชำระค่าบ้านด้วยคริปโตเคอเรนซี 3 สกุลหลัก ได้แก่ บิทคอยน์ อิเธอเรียม และเทเทอร์ ( USDT )
- บมจ.อาร์เอส ( RS ) เปิดตัวเหรียญ Popcoin เพื่อใช้ใน Ecosystem ของบริษัท
- บมจ.สบาย เทคโนโลยี ( SABUY ) ตั้งบริษัทย่อยลงทุนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งรวมถึงลงทุนคริปโตเคอเรนซี
- ธนาคารไทยพาณิชย์ ( SCB ) ก่อตั้งบริษัทย่อย บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ( SCBS ) ถือหุ้นใน บิทคับ ออนไลน์ ( Bitkub Online ) กระดานเทรดเหรียญคริปโตเคอเรนซีอันดับหนึ่งของประเทศไทย
- บมจ.แสนสิริ ( SIRI ) ร่วมลงทุนใน บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล ( XPG ) เพื่อต่อยอดธุรกิจด้านการเงินและหลักทรัพย์ รวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล
- บมจ.ตงฮั้ว โฮลดิ้ง ( TH ) ประกาศตั้งประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยี ( CTO) ที่เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อลงทุนในอนาคต
- บมจ.ยู ซิตี้ ( U ) มีแผนที่จะนำสินทรัพย์ดิจิทัลที่มีสินทรัพย์ค้ำประกันมาจัดตั้งเป็นกองทรัสต์ ( REITs )
- บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น ( WHA ) ศึกษาข้อมูลเทั้ง Utility Token และโทเคนดิจิทัล เพื่อการลงทุน ( Investment Token ) และใช้ประโยชน์ในกลุ่มธุรกิจ
- บมจ.เอ็กซ์สปริง แคปปิตอล ( XPG ) ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลครบวงจร ทั้งผู้ค้าโทเคนดิจิทัล นายหน้าโทเคนดิจิทัล ICO Portal นายหน้าคริปโตเคอเรนซี และ ผู้ค้าคริปโตเคอเรนซี พร้อมกับเป็นที่ปรึกษาในการออกและเสนอขาย โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน สิริฮับ ( SiriHub Investment Token )
- บมจ.ซิก้า อินโนเวชั่น ( ZIGA ) ลงทุนธุรกิจเหมืองขุดบิทคอยน์ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ตั้งเป้าขยายเครื่องขุดเป็น 1,500 เครื่องภายในปี 2022