เหมืองขุด Bitcoin เรียกได้ว่าเป็นตัวจุดกระแสของ Cryptocurrency และทำให้ผู้คนเริ่มหันเข้ามาสนใจกันว่ามันคืออะไร โดยในวันนี้ทาง Cryptoaday จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ เหมืองขุด Bitcoin ให้มากขึ้นว่ามันคืออะไร
เหมืองขุด Bitcoin คืออะไร
ในระบบสถาบันการเงินนั้น รัฐบาลสามารถที่จะพิมพ์เงินออกมาได้เมื่อพวกเขาต้องการ แต่ในโลกของ Cryptocurrency นั้น จะไม่ได้เรียกว่าการพิมพ์ แต่คือการขุด โดยที่คอมพิวเตอร์ทั่วโลกนั้นทำการขุดหาเหรียญใหม่ ๆ ด้วยการแข่งขันกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ
ประเภทของ เหมืองขุด Bitcoin
การทำ เหมืองขุด Bitcoin ของ Blockchain เป็นวิธีที่ดีในการรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย Blockchain จากการโจมตี ซึ่งการสร้าง เหมืองขุด Bitcoin หรือที่เราเรียกกันว่าแท่นขุด ซึ่งจะใช้ Hardware ของคอมพิวเตอร์ในการประมวลผลและถอดรหัส Hash ออกมา นอกจากนี้ เหมืองขุด Bitcoin ก็จะมีความแตกต่างในด้านของทั้งราคา ขนาด และประสิทธิภาพ ซึ่งการจะสร้างแท่นขุดเราจะพิจารณาจาก ราคา การใช้พลังงาน และ Hash Rate โดยประเภทของ เหมืองขุด Bitcoin ก็จะมีด้วยกันหลายแบบ เราไปดูกันดีกว่าว่ามีประเภทใดบ้าง
เหมืองขุด Bitcoin แบบใช้ CPU
การใช้ CPU ใน เหมืองขุด Bitcoin ในช่วงแรกของการขุดบิตคอยน์ มีเจ้าของเหมืองมากมายที่ประสบความสำเร็จในการใช้ CPU ขุดเหรียญบนคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปและคอมพิวเตอร์เดสก์ท๊อป ทางวิธีการขุดแบบ CPU ในช่วงสมัยแรกสามารถทำได้ เนื่องจากยังไม่มีผู้คนมาขุดบิตคอยน์มากนัก ทำให้ไม่มีใครมาแย่งเหรียญไปจากเรา แต่เมื่อความนิยมของ Cryptocurrency สูงมากขึ้น การแข่งขันก็สูงขึ้นตามไปด้วย ทำให้ เหมืองขุด Bitcoin แบบการใช้ CPU เริ่มล้าสมัย เนื่องด้วยการขุดแบบใช้ CPU ไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงแรงขุดก็ไม่สามารถสู้กับการใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ในการขุดได้ การขุดแบบใช้ CPU มีความเร็วแค่เพียง 8 – 20 กิโลแฮชต่อวินาทีเท่านั้น เป็นตัวเลขที่เรียกได้ว่าน้อย หากเทียบกับการทำ เหมืองขุด Bitcoin แบบอื่น ๆ
เหมืองขุด Bitcoin แบบใช้ GPU
หลังจากที่ความสนใจใน Cryptocurrency และ Blockchain เพิ่มสูงขึ้น จำนวนของนักขุดก็เพิ่มมากขึ้น จนส่งผลให้การแข่งขันเพื่อแย่งชิงบิตคอยน์สูงมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งส่งผลให้นักขุดจำนวนมากเริ่มย้ายจาก เหมืองขุด Bitcoin แบบ CPU ไปใช้หน่วยประมวลผลกราฟิก หรือการ์ดจอ ( GPU ) เนื่องด้วยการใช้ GPU มีประสิทธิภาพและ Hash Rate ที่สูงกว่ามาก โดย Software ตัวแรกที่ถูกออกแบบมาเพื่อขุดเหรียญ Bitcoin โดยใช้ GPU ถูกเปิดตัวครั้งแรกในปี 2010
อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าหน่วยวัดความเร็วของ เหมืองขุด Bitcoin แบบใช้ CPU มีหน่วยใช้เป็น กิโลแฮชต่อวินาที แต่ใน GPU เราจะใช้หน่วยเป็น เมกะแฮชต่อวินาที ( 1 เมกะแฮช = 1,000 กิโลแฮช ) โดยประสิทธิภาพในการขุดก็จะขึ้นอยู่กับ อายุการใช้งานและราคาของ GPU ซึ่ง GPU สมัยใหม่จำนวนมากสามารถขุดได้ด้วยความเร็วกว่า 10 เมกะแฮชต่อวินาที ( มากกว่าแบบ CPU ประมาณ 1,000 เท่า ) โดย GPU บางตัวสามารถทำตัวเลขเข้าใกล้ 60 เมกะแฮชต่อวินาที เลยทีเดียว แต่ยังไม่พอเพราะนักขุดบางคนยังสามารถสร้าง เหมืองขุด Bitcoin ที่ประกอบไปด้วย GPU ประมาณ 6 – 12 ตัว ที่จะช่วยเพิ่มค่า Hash Rate และหากใครที่คิดว่า 6 – 12 เครื่องสุดแล้ว คุณคิดผิด เพราะในปัจจุบันบางคนสามารถใช้งาน GPU 24 – 48 เครื่อง พร้อมกันได้แล้ว
นอกจากความเร็วที่สูงกว่าการใช้ CPU แล้ว การใช้ เหมืองขุด Bitcoin แบบ GPU ยังมีความยืดหยุ่นในการขุดเหรียญได้หลากหลายกว่าบนระบบ Blockchain ด้วยความที่ Algorithm มีความแตกต่างกัน ซึ่งนักขุดบางคนก็หันไปขุดเหรียญอื่น เช่น อิเธอเรียม มากกว่าการขุดบิตคอยน์ ซึ่งการมาแทนที่ของ เหมืองขุด Bitcoin แบบ GPU เรียกได้ว่ารวดเร็วมาก แต่อายุขัยของมันก็สั้นเช่นเดียว เพราะในปี 2015 เหมืองขุด Bitcoin ก็ถูกถ่ายโอนไปให้การกำเนิดใหม่ของ Hardware อย่าง ASIC
เหมืองขุด Bitcoin แบบใช้ ASIC
ASIC ย่อมาจากคำว่า Application Specific Integrated Circuit โดย เหมืองขุด Bitcoin แบบ ASIC ออกแบบมาเพื่อการขุด Bitcoin โดยเฉพาะ ซึ่ง ASIC มีการเปิดตัวครั้งแรกในปี 2012 และมีประสิทธิภาพมากกว่า เหมืองขุด Bitcoin แบบ GPU ถึง 2,000% ในขณะที่การประมวลผลของ GPU จะวัดเป็น เมกะแฮชต่อวินาที แต่สำหรับ ASIC จะใช้หน่วยเป็น เทราแฮชต่อวินาที ( 1 เทราแฮช = 1,000 เมกะแฮช ) โดยในปี 2020 นักขุดบางคนสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 90 – 100 เทราแฮชต่อวินาที ซึ่งมากกว่า เหมืองขุด Bitcoin ที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเสียอีก และด้วยประสิทธิภาพที่สูงของ ASIC ส่งผลให้ราคาก็สูงขึ้นตามไปด้วย โดยทั่วไปจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 2,000 – 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาในการถึงจุดคืนทุนนานพอสมควร ด้วยความที่ ASIC มี Scale ที่ใหญ่ ค่าไฟฟ้า และปัญหาทางด้าน Network
นอกจากนี้ นักขุดที่ใช้ เหมืองขุด Bitcoin แบบ ASIC ส่วนใหญ่จะมีความสามารถในการขุดเหรียญบางเหรียญเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การปรับให้เหมาะสมสำหรับการขุดบิตคอยน์ เป็นต้น ซึ่งด้วยความเฉพาะเจาะจงแบบนี้ จึงทำให้นักขุดบางส่วนยังใช้ เหมืองขุด Bitcoin แบบ GPU อยู่
เหมืองขุด Bitcoin แบบใช้ FPGA
ย่อมาจาก Field Programmable Gate Array มักจะมีความเร็วและประสิทธิภาพมากกว่า GPU สำหรับการทำเหมืองส่วนใหญ่ และยังสามารถตั้งค่าให้ขุดเหรียญได้หลากหลายชนิด ในขณะที่ ASIC ไม่สามารถทำได้ ด้วยเหตุผลนี้ นักขุดบางจึงคิดว่าการตั้งค่าของ FPGA ดีที่สุด
โดยกำลังขุดของ เหมืองขุด Bitcoin แบบ FPGA จะขึ้นอยู่กับชุด FPGA และเหรียญที่กำลังขุด ประสิทธิภาพอาจจะแตกต่างกันอย่างมากตั้งแต่ 100 กิโลแฮชต่อวินาที จนไปถึงมากกว่า 20 กิกะแฮชต่อวินาที โดยราคาของ เหมืองขุด Bitcoin แบบ FPGA ตั้งแต่ 200 – 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยข้อเสียอย่างหนึ่งของ FPGA คือในส่วนของการตั้งค่า ไม่ค่อยเป็นมิตรกับมือใหม่เท่าไหร่นัก นักขุดอาจจะต้องออกแบบ Gate Array และ Software เอง แต่ก็จะยังมีบางเว็บไซต์ที่เปิดให้ใช้ Software อยู่ แต่ก็จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก อยู่ที่ประมาณ 8% ของกำไร
เหมืองขุด Bitcoin แบบ Cloud Mining
เหมืองขุด Bitcoin แบบ Cloud Mining เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจจะขุดเหรียญ ซึ่งนักขุดสามารถซื้อสัญญาการขุดบน Cloud หรือสัญญาจากผู้ให้บริการ ซึ่งนักขุดสามารถตอบสนองความต้องการในการจัดเก็บข้อมูล โดยการซื้อที่เก็บข้อมูลบน Cloud เพิ่ม ซึ่งจุดนี้จะเป็นส่วนที่สามารถลดต้นทุนและการบำรุงรักษา Hardware ของเราได้
โดยราคาของการซื้อสัญญาการขุดบน Cloud ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามระยะเวลา ( ตั้งแต่สัปดาห์จนไปถึงรายปี ) และ Hash Rate ซึ่ง เหมืองขุด Bitcoin แบบ Cloud Mining มีจุดเด่นอยู่ที่การลดต้นทุน เนื่องด้วยผู้ให้บริการ Cloud จะมี เหมืองขุด Bitcoin แบบ ASIC ที่มีประสิทธิภาพสูง อีกทางเลือกของการขุดแบบ Cloud Mining คือ การเช่าเหมือง ASIC จากระยะไกล แม้ว่าจะไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าไหร่ แต่ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกให้นักขุดได้ใช้กัน
เมื่อความต้องการเพิ่มขึ้น อาจเป็นเรื่องยากที่จะหาการขุดบน Cloud ที่พร้อมใช้งาน เนื่องจากบางครั้งสัญญาเหล่านี้ก็ขายหมดในระยะเวลาอันรวดเร็ว และอีกสิ่งหนึ่งที่นักขุดควรพึงระวัง นั้นก็คือการหลอกหลวง เนื่องด้วยมีหลายเคสที่เกิดการฉ้อโกงเกิดขึ้น
ความแตกต่างของ เหมืองขุด Bitcoin แต่ละประเภท
ความแตกต่างหลัก ๆ จะอยู่ที่ความเร็วและประสิทธิภาพในการขุด แต่เหตุผลหลัก ๆ ที่นักขุดจะเลือกใช้เหมืองสักประเภท ก็จะขึ้นอยู่กับเงินทุนและความพร้อมมากกว่า เพราะนักขุดบางคนก็มีเงินทุนที่ค่อนข้างเยอะ แต่ก็ไม่ได้มีความรู้ความสามารถในการรักษาบำรุงอุปกรณ์การขุดของเรามากนัก ซึ่งในส่วนของการเลือกใช้ ก็คงแล้วแต่ผลกำไร และความพร้อมของตัวนักขุดเองเสียมากกว่า