เทคโนโลยี Blockchain ได้เติบโตขึ้นมาอย่างมากมายจากวันเริ่มต้นที่เป็นเพียงการใช้บันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมของสกุลเงินดิจิทัลเท่านั้น แต่ทุกวันนี้ได้มีการพัฒนาต่อยอดขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานกับระบบการเงินในรูปแบบอื่น ๆ ได้มากขึ้น มีการขยายตัวรองรับการใช้งานที่เพิ่มมากขึ้นได้ แล้วการพัฒนาของ Blockchain นั้นเป็นอย่างไรบ้าง

Blockchain คืออะไร

Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สำหรับการบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมของเงินสกุลดิจิทัล สร้างโดยผู้ที่ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto เมื่อปี 2009 โดยที่จะทำการบันทึกข้อมูลธุรกรรมแบบ บล็อก ต่อกันไปเรื่อย ๆ เหมือนกับโซ่ที่เชื่อมแต่ละบล็อกเข้าด้วยกัน ไว้ใช้ตรวจสอบข้อมูลเชื่อมหากันได้เสมอ มีการเข้ารหัสข้อมูลและมี Node Validator ที่ช่วยตรวจสอบทำหน้าที่ยืนยันข้อมูลให้ ข้อมูลใน Blockchain จะไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือ ลบ ได้โดยง่าย จึงมีความน่าเชื่อถือสูง

Transactions in blockchain

Nakamoto ได้สร้าง Blockchain เพื่อเป็นตัวกลางในการบันทึกธุรกรรม ( Transactions ) สำหรับเงินสกุลดิจิทัล ทำงานอิสระโดยที่ไม่ต้องมีตัวกลาง เอกสารไวท์เปเปอร์ของ Nakamoto ได้นำเสนอปัญหาของพวกเขาเกี่ยวกับการเงินแบบดั้งเดิม โดยระบุว่าอีคอมเมิร์ซที่ใช้ตัวกลางบุคคลที่สามเกือบทั้งหมดในการประมวลผลธุรกรรมดิจิทัล ตัวกลางเหล่านี้ต้องใช้เวลาและเงินในการไกล่เกลี่ยธุรกรรม เพิ่มต้นทุนให้กับคู่สัญญาที่ทำธุรกรรม และจำกัดศักยภาพในการทำธุรกรรมที่มีขนาดเล็กลงทุกวัน รวมถึงปัญหาอื่น ๆ อีกมากที่จะต้องให้ตัวกลางนั้นดำเนินการให้

จึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาให้เป็นแบบการกระจายอำนาจของกระบวนการธุรกรรมที่เชื่อถือได้ โดยทำธุรกรรมแบบ Peer-to-Peer และมีคนกลางที่เป็นผู้ร่วมตรวจสอบเท่านั้น ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลใด ๆ ทั้งสิ้นเป็นยุคเริ่มแรกของ Blockchain ที่มาพร้อมกับ บิทคอยน์ หรือที่เรียกกันว่า Blockchain 1.0

Contracts in blockchain

เทคโนโลยี Blockchain ได้พัฒนาธุรกรรมแบบ peer-to-peer ที่เรียบง่ายในอดีต มีการพัฒนาเข้ามารองรับการใช้งานของ แอปพลิเคชันกระจายอำนาจ ( DApps ) ที่สร้างขึ้นบน Blockchain เพื่อให้สามารถใช้งานการเงินในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากกว่าเดิมไม่ได้เป็นเพียงระบบสำหรับบันทึกธุรกรรมอย่างเดียวเท่านั้น เพิ่มความเร็วและความปลอดภัยให้มากขึ้น

อิเธอเรียม เป็น Blockchain แรกที่ได้เริ่มทำระบบ Smart Contract ขึ้นมา ผู้ก่อตั้ง อิเธอเรียม จินตนาการว่าแพลตฟอร์มของเขาจะเข้ามาแทนที่กระบวนการทำธุรกรรมแบบเดิม ซึ่งจะกระจายกระบวนการดิจิทัลทั้งหมด ทำไมต้องหยุดปฏิวัติการชำระเงินแบบ peer-to-peer ในเมื่อสามารถปฏิวัติการให้กู้ยืมและการกู้ยืมทางการเงิน การเล่นเกมและโซเชียลมีเดียได้

สัญญาอัจฉริยะคือข้อตกลงดิจิทัลที่ทำขึ้นระหว่างสองฝ่ายขึ้นไป ซึ่งไม่ต่างจากสัญญาในชีวิตจริง อย่างไรก็ตาม สัญญาในชีวิตจริงกำหนดให้ทนายความหรือคนกลางที่คล้ายคลึงกันทำงาน ซึ่งทำให้กระบวนการยุ่งยากขึ้น

Applications

อิเธอเรียม ได้ก้าวไปอีกระดับโดยพัฒนาแพลตฟอร์มสำหรับนักพัฒนาในการสร้าง DApps ( Decentralized application ) โดยใช้ประโยชน์จาก Smart Contract เข้ามาเป็นตัวกลางในการพัฒนาครั้งนี้ อิเธอเรียม นั้นถือว่าเป็น Blockchain 2.0 ที่มีแนวโน้มที่จะขยายตัวไปได้ไกลกว่า Blockchain 1.0 ของ บิทคอยน์ ด้วยระบบ Applications ที่ถูกพัฒนาขึ้น Blockchain เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้ Blockchain นั้นเติบโตได้มากขึ้น

แนวคิดริเริ่มของ Blockchain 3.0

หลังจากที่ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาจนเป็น Blockchain 2.0 แล้ว ก็ได้เริ่มมีแนวคิดอีกว่า การใช้งานไม่ควรที่จะมีการจำกัดอยู่ใน Blockchain เดียวเท่านั้น ต้องสามารถข้าม ย้าย แลกเปลี่ยนระหว่าง Blockchain ได้ด้วย จึงทำให้มีการวางแผนการพัฒนา Blockchain 3.0 ที่จะต้องมี สะพานสำหรับเชื่อมโยง Blockchain ต่าง ๆ เข้าร่วมกัน ซึ่งใน Blockchain ยุคหลัง ๆ ส่วนใหญ่แล้วจะมีระบบการทำงานตรงส่วนนี้กันทั้งหมด เป็นการพัฒนาขึ้นไปอีกขั้นของเครือข่าย Blockchain ในอนาคตที่ไม่ว่าจะใช้งานในระบบไหนก็ตามก็สามารถเชื่อมต่อไปยังระบบอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน เป็นการยกระบบการทำงานของ Blockchain เดิมได้อย่างดีมาก ตอบโจทย์ของการเป็น Decentralized ได้อย่างดี

สำหรับการพัฒนาของ Blockchain ที่เริ่มมาตั้งแต่ Blockchain 1.0 จนในปัจจุบันนี้เริ่มได้มีการพัฒนา Blockchain 3.0 ขึ้นมาแล้ว ถือว่าเป็นการพัฒนาก้าวกระโดดอย่างมานับจากเปิดตัวขึ้นมาเมื่อปี 2009 เท่านั้นเอง ถ้าหากระบบต่าง ๆ นั้นได้พัฒนาเสร็จสิ้นการเชื่อมระบบต่าง ๆ นั้นไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไปอนาคตของ Blockchain นั้นจะสามารถเริ่มเข้ามาใช้จริงกับธุรกิจต่าง ๆ และข้อมูลขนาดใหญ่ได้ เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยีของโลกในอนาคตได้เลย