เรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง Proof-of-stake และ Proof-of-work ที่ Blockchain ชั้นนำนั้นเลือกใช้งานกันไม่ว่าจะเป็น บิทคอยน์ อิเธอเรียม และ Cardano อะไรคือความแตกต่างที่แต่ละที่นั้นเลือกใช้งานกัน แต่ละแบบทำงานอย่างไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไรกันบ้าง
Proof-of-stake และ Proof-of-work
แม้ว่าประวัติการทำธุรกรรมของ บิทคอยน์ ( BTC ) จะถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัยโดยใช้หลักฐานการทำงานแบบ Proof-of-work ( PoW ) แต่ก็ใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก และจำนวนธุรกรรมที่สามารถจัดการได้ในครั้งเดียวนั้นมีจำกัด ด้วยเหตุนี้ กลไกฉันทามติใหม่ที่มุ่งเน้นไปที่วิธีการที่ใช้พลังงานน้อยกว่าจึงเกิดขึ้น ซึ่งก็คือแบบ Proof-of-stake ( PoS ) เป็นหนึ่งในรูปแบบที่โดดเด่นที่สุดในตอนนี้ กลไกฉันทามติเหล่านี้ช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันได้ในขณะที่ยังคงมีความปลอดภัยอยู่เช่นเดิม
เครือข่ายบล็อกเชนจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาหลายอย่างเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างเช่น หากไม่มีอำนาจจากส่วนกลาง เช่น ธนาคารหรือ FinTechs ( เช่น PayPal ) เครือข่ายสกุลเงินดิจิทัลที่กระจายอำนาจจะต้องทำให้แน่ใจดำเนินการทำธุรกรรมได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ เพื่อที่จะเข้ามาทดแทนได้
Proof-of-work และ Proof-of-stake เป็นกลไกหลักสองประการที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน โดยจะใช้กับโครงการทางการเงินแบบกระจายอำนาจ ( DeFi ) เพื่อรับฉันทามติบนเครือข่ายสกุลเงินดิจิทัล เป็นแนวทางการทำงานของ Blockchain เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง โดยผ่าน Validator Node ทั้งสองแบบ แต่ Proof-of-work จะเป็นการใช้ Node ที่เป็นเครื่องในการทำงาน แต่ Proof-of-stake จะเป็นการ Staking เหรียญไว้ในระบบเพื่อเป็น Validator
รู้จักกับ Proof-of-work
Proof-of-work ได้เริ่มมีแนวคิดตั้งแต่ปี 1993 เพื่อใช้ต่อสู้กับอีเมลขยะในเครือข่ายและการปฏิเสธการให้บริการ และต่อมา Satoshi Nakamoto ก็ได้นำการทำงานนี้มาใช้เป็นระบบการทำงานใน Blockchain ของ บิทคอยน์ เมื่อปี 2008 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของคริปโตเคอเรนซี
PoW จะทำงานด้วยการใช้เครื่องมือในการตอบสมการทางคณิตศาสตร์และใช้กำลังของเครื่องในการคำนวณที่เรียกว่าโหนด และเมื่อแก้สมการได้แล้ว ก็จะทำการเข้ารหัสข้อมูลในบล็อกเป็นการยืนยันการทำธุรกรรม โดยที่ Node คืออุปกรณ์ทางกายภาพใด ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ หรือ เครื่องขุดเหมืองคริปโตเคอเรนซี เมื่อทำสำเร็จแล้วก็จะได้รับผลตอบแทนกลับมาเป็นเหรียญคริปโตเคอเรนซี เป็นขั้นตอนการทำงานง่าย ๆ ของ Proof-of-work
ข้อดีและข้อเสียของ Proof-of-work
ในการทำงานของ Proof-of-work จะเป็นการใช้เครื่องที่ต้องมีการแข่งขันในด้านการประมวลผลที่รวดเร็วที่สุด ตัวเครื่องที่ใช้ทำงานก็จะยิ่งใช้พลังงานไฟฟ้าสูงมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ที่หลายประเทศนั้นเริ่มไม่อนุญาตให้ทำเหมืองในประเทศเพราะพลังงานนั้นถูกนำไปใช้ในการขุดเหมือง บิทคอยน์ มากเกินไป นอกจากเรื่องพลังงานแล้ว ตัวเครื่องเองก็มีความเสี่ยงต่าง ๆ จากการใช้งานที่เปิดตลอดเวลาอีกด้วย
แต่ในการทำงานแบบ Proof-of-work จะมีข้อดีในส่วนของการดูแลข้อมูลที่เครือข่ายจะมีความปลอดภัยสูงมาก ยิ่งมีจำนวน Node มาก ข้อมูลก็จะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ มากขึ้นทำให้การแก้ไข ปลอมแปลง ข้อมูลนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย จึงยังทำให้การทำงานรูปแบบนี้ยังคงมีความนิยมอยู่เช่นกัน เพียงแต่จะต้องหันไปเลือกใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อดำเนินการทดแทน
Proof-of-stake คืออะไร?
หลังจากที่ปัญหาของ Proof-of-work ได้มีมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ ในปี 2011 มีการเสนอแนวทางใหม่ในฟอรัม Bitcointalk เพื่อจัดการกับความไร้ประสิทธิภาพของกลไกฉันทามติ PoW และลดปริมาณทรัพยากรการคำนวณที่จำเป็นในการรันเครือข่ายบล็อกเชนลง การตรวจสอบธุรกรรมบนเครือข่าย Blockchain ผู้ใช้เพียงต้องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นเจ้าของโทเคนสกุลเงินดิจิทัลจำนวนหนึ่งซึ่งมีอยู่ในบล็อกเชน จึงได้มีแนวคิดเกี่ยวกับกลไกฉันทามติประเภทนี้ที่ใช้โดยเครือข่ายบล็อกเชนเพื่อให้ได้ฉันทามติแบบกระจายเรียกว่า Proof-of-stake
ในเครือข่าย PoS ผู้ขุดจะไม่แข่งขันกันเพื่อสิทธิ์ในการเพิ่มบล็อก แทนที่จะถูกขุด บล็อกมักถูกเรียกว่า “minted” หรือ “forged” แทน บล็อกเชน PoS ไม่เหมือนกับบล็อกเชน PoW ไม่จำกัดว่าจะต้องมีเครื่องที่แรงกว่ากันในการประมวลผล แต่จะใช้การ Staking เพื่อเป็นตัวแทนของสิทธิในการดำเนินการ ทำให้ Proof-of-stake นั้นเริ่มมีความนิยมใน Blockchain รุ่นใหม่มากขึ้น สามารถแก้ปัญหาของการใช้พลังงาน และการสิ้นเปลืองอุปกรณ์ได้ดีกว่ามาก
ในหลักการทำงานก็จะคล้ายกันกับ Proof-of-work เพียงแต่ใช้การ Staking เป็นตัวแทนของ Validator Node เท่านั้น
ข้อดีและข้อเสียของ Proof-of-stake
ปัญหาการสูญเสียทรัพยากรพลังงานจำนวนมากได้รับการแก้ไขแล้วใน PoS นอกจากนี้ยังเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกรรมได้มากขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ PoW ทั้งเร็วกว่าและรองรับธุรกรรมได้มากกว่า ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะทำให้ Blockchain นั้นทำงานได้จริง
แต่การทำงานในแบบ Proof-of-stake ก็ยังมีปัญหาของตัวเอง ตัวอย่างเช่น เครือข่ายนั้นจะยังคงอยู่ภายใต้การปกครองของผู้ถือโทเคนที่สำคัญที่สุด ก็คือใครที่มีกำลังเงินมากที่สุดในการทำ Staking ก็จะได้รับผลตอบแทนมากกว่า แต่ว่าจริง ๆ แล้วก็เป็นเรื่องปกติที่นักลงทุนนั้นยอมรับได้และยินดีที่จะลงทุนในรูปแบบนี้เช่นกัน
แต่ก็ยังมีบางส่วนที่ยังไม่เห็นด้วยจึงได้มีการพัฒนารูปแบบของ กลไกฉันทามติ แบบใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่ก็ยังไม่ตอบโจทย์ได้จริงเท่ากับ Proof-of-stake