เครื่องขุด Antminer เป็นเครื่องขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซีประเภท ASIC และถือว่าเป็นเครื่องที่ถูกออกแบบมาสำหรับการขุดเหรียญคริปโตเคอเรนซีโดยเฉพาะซึ่งผลิตโดยบริษัท Bitmain วันนี้เราจะมารีวิว เครื่องขุด Antminer รุ่น Antminer L3+ เปิดตัวเมื่อปี 2017 แต่ก็ยังนิยมมาจนถึงปัจจุบันบริษัท Bitmain เป็นบริษัทในประเทศจีนซึ่งก่อตั้งในปี 2013 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก Antpool ซึ่งเป็นพูลขุดบิทคอยน์ที่ใหญ่ที่สุด
โดยมีเครื่องรุ่นแรกที่ออกมาคือ Antminer S1 ซึ่งมีผลิตรุ่นต่าง ๆ ออกมาเรื่อย ๆ จนถึงปัจจุบันคือ Antminer L3+ ซึ่งปกติเครื่องส่วนใหญ่ของ Animiner มักจะเป็นเครื่องที่เอาไว้ขุดอัลกอริทึม SHA-256 ซึ่งรู้จักกันดีว่าเป็นอัลกอริธึมสำหรับบิทคอยน์ แต่ Antminer L3+ ตัวนี้เป็นอัลกอริทึม Scrypt ซึ่งจะขุดเหรียญทุกเหรียญที่รองรับ algorithm นี้แต่เหรียญที่คนรู้จักกันดีที่สุดคือ Litecoin
สเปกของ เครื่องขุด Antminer L3+ และราคาอัปเดทปัจจุบัน
สเปกของ เครื่องขุด Antminer L3+ มี Scrypt 504 Mh/s +/- 5%, Hash Rate 504MH/s. A variation of +/- 5% is expected, Power Consumption 800W +10%, Power Efficiency 1.6J/MH +10%, DC Voltage Input 11.60 ~ 13.00V, Chip Type BM1485 มีชิป 228 ตัวโดยมีบอร์ด 4 ตัว บอร์ดละ 72 ตัว และ เครื่องขุด Antminer L3+ มีขนาด 352mm ( l ) x 130mm ( w ) x 187.5mm ( h ) มันเชื่อมต่อโดยสายแลน โดยราคาของ เครื่องขุด Antminer จะอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 50,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่จับต้องได้ เครื่องขุด Antminer สามารถตั้งรหัสเข้าเครื่องได้ เนื่องจาก os เป็น Linux หากใครมีความรู้หน่อยสามารถเข้าไปเขียนสคริปต์คำสั่งเครื่องขุด Antminer โดยตรงได้ ที่สำคัญเราสามารถตั้งค่าได้ว่าพัดลมทำงานกี่เปอร์เซ็นต์ ไม่ห่วงเรื่องความร้อนและสามารถตั้งอุณหภูมิสูงสุดที่เครื่องจะทำงานได้
การติดตั้งและใช้งานเบื้องต้น เครื่องขุด Antminer
โดยอุปกรณ์นี้ต้องต่อเข้ากับหม้อแปลงตัวนึงที่มีกำลัง 1600 watt ที่ต้องสั่งแยกต่างหากแต่หากใครมี Antminer ตัวอื่นอยู่แล้วก็สามารถใช้หม้อแปลงของมันแทนกันได้ สำหรับการติดตั้งเครื่องไม่มีอะไรมากเลยครับ แค่เพียงเสียบปลั๊กและเสียบสายแลนเท่านั้น หลังจากเสียบปลั๊กแล้ว เราจำเป็นต้องรอให้หม้อแปลงหมุนสักพักและไฟจะจ่ายไปที่ตัวเครื่อง ซึ่งจะทำให้เครื่องเริ่มทำงานและสังเกตว่ามีไฟกะพริบที่พอร์ทสายแลน ก็แปลว่าเครื่องนี้ต่อกับเน็ตเวิร์กของเราแล้ว หลังจากเครื่องรันแล้วสิ่งที่รู้สึกได้ก็คือ มันดังครับถ้าเทียบกับการ์ดจอมันดังมากไม่สามารถนำไว้ในห้องที่มีคนเดินไปมาเหมือน GPU ได้แน่นอนและมันจะมีพัดลมสองตัวซึ่งตัวนึงจะคอยดูดลมเข้าอีกตัวจะเป่าลมออก เมื่อปล่อยมันทำงานไปซักพักก็พบว่าอุณหภูมิมันค่อนข้างร้อนพอสมควรเลย หลังจากมันรันแล้วก็ให้เราไปเช็กที่เราเตอร์ของเราและหาไอพีที่เชื่อมกับเครื่องของเราและ Access ผ่าน web browser ซึ่งจริง ๆ แล้ว OS ของเครื่องนี้เป็น Linux ซึ่งเราสามารถ ssh หรือ cmd รีโมทเข้าเครื่องไปโดยตรงได้เลย แต่เราจะขอแนะนำวิธีปกติก่อนและนี่คือหน้า UI ของ Antminer
แรงขุดทำเงินของ เครื่องขุด Antminer
เครื่องขุด Antminer สามารถตั้งรหัสเข้าเครื่องได้ เนื่องจาก os เป็น Linux หากใครมีความรู้หน่อยสามารถเข้าไปเขียนสคริปต์คำสั่งโดยตรงได้ ที่สำคัญเราสามารถตั้งค่าได้ว่าพัดลมทำงานกี่เปอร์เซ็นต์หากไม่ห่วงเรื่องความร้อน และสามารถตั้งอุณหภูมิสูงสุดที่เครื่องจะทำงานได้ โดยแรงขุดเหรียญ BTC ของ เครื่องขุด Antminer โดยเฉลี่ยแล้วได้รายได้วันละประมาณ 1400 – 1600 บาท ยังไม่หักค่าไฟหากหักแล้วจะเหลือวันละ 1316 – 1516 บาท
ข้อดีและข้อเสียของ เครื่องขุด Antminer
ข้อดีของ เครื่องขุด Antminer คือ กำลังขุดของเครื่องนี้ถือว่าแรงมากได้ผลตอบแทนค่อนข้างดี มีขนาดถือว่าเล็กและกะทัดรัดมาก มีROI น่าจะดีที่สุดแล้วในบรรดา เครื่องขุด Antminer และดีกว่าเครื่องขุดการ์ดจอในราคาปัจจุบัน อุณหภูมิที่ตัวชิปถือว่าไม่สูงมาก เครื่องขุด Antminer ดูแลติดตั้งง่ายกว่าการ์ดจอมาก กินไฟต่ำกว่าการ์ดจอ ส่วนข้อเสียของเครื่องขุด Antminer มีราคาสูงกว่าริกแบบการ์ดจอ มันสามารถขุดได้แค่อัลกอริทึมเดียวเท่านั้นแม้จะขุดได้หลายเหรียญแต่ก็หลากหลายไม่เท่าการ์ดจอ เครื่องขุด Antminer หายากมากถ้าเทียบกับการ์ดจอ หากขุดไม่คุ้มแล้วไม่สามารถขายต่อได้เหมือนการ์ดจอ หากเครื่องขุดเป็นอะไรไปต้องส่งเครื่องเคลมที่ต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม เครื่องขุด Antminer เป็นเครื่องขุด ASIC ที่ได้ค่าตอบแทนที่ดีที่สุดและถ้าเทียบค่าตอบแทนกับราคาการ์ดจอตอนนี้ถือว่าดีกว่าพอสม รวมถึงสามารถขุดด้วย Scrypt ซึ่งการ์ดจอไม่สามารถขุดได้ แม้จะมีข้อเสียเรื่องเสียงและความร้อนแต่หากจัดการกับปัญหาสองอย่างนี้ได้มันจะทำงานได้ดีทีเดียว เหมาะสำหรับใครที่มีทุนพอหรือใครก็ตามที่อยากลองกระจายความเสี่ยง สำหรับนักลงทุนที่สนใจ เครื่องขุด Antminer นี้มันสามารถหาซื้อได้จากเว็บไซต์ Bitmain นั่นเอง