DeFi หรือ Decentralized Finance คืออะไร?
DeFi หรือที่เรียกแบบเป็นทางการว่า Decentralized Finance นั้นคืออะไร นักลงทุนหลาย ๆ ท่านต่างต้องเคยได้ยินและได้เห็นตามข่าวสารต่าง ๆ ในคลับพูดคุยต่าง ๆ ก็น่าจะมีการพูดถึงระบบ DeFi กัน แต่ว่าตัวระบบ DeFi นั้นคืออะไรเรามาเรียนรู้ถึงความเป็นมาของ DeFi กันรวมถึงประโยชน์ที่ระบบ DeFi นั้นมีอย่างไรบ้าง เกี่ยวข้องกับการลงทุน คริปโตเคอเรนซี อย่างไรบ้าง มีความจำเป็นแค่ไหนที่จะต้องไปลงทุนในรูปแบบของ DeFi
ระบบการลงทุนแบบ DeFi หรือ Decentralized Finance นั้นก็คือการที่ดำเนินธุรกิจของรูปแบบธนาคาร ที่นักลงทุนจะทำการนำเหรียญ คริปโตเคอเรนซี ไปฝากเข้ายังระบบของทางผู้พัฒนา DeFi แล้วเราก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นเหรียญที่เราฝากเข้าไป หรือ จะได้เหรียญ คริปโตเคอเรนซี ที่ทางผู้พัฒนาระบบ DeFi กำหนด ซึ่งก็จะมีแตกต่างกันไปที่เราสามารถเลือกได้ พร้อมทั้งเห็นได้เลยว่าถ้าเราฝาก เหรียญคริปโตเคอเรนซี ตัวนี้จะได้รับผลตอบแทนรายปีเป็นกี่ % ต่อปี ลักษณะจะคล้ายกับการออมเงินเข้าสู่ธนาคารที่จะได้รับดอกเบี้ยประจำปีกลับมาในแต่ละปี และนี่เป็นรูปแบบของการลงทุนใน DeFi แบบง่าย ๆ ที่นักลงทุนควรจะเข้าใจกันก่อนที่จะลงทุนต่อไป
DeFi นั้นมีที่มาจากอะไร ดำเนินการแบบไหนถึงมีผลตอบแทนแก่นักลงทุน
สำหรับการลงทุนในรูปแบบ DeFi อย่างที่ได้เข้าใจกันแล้วว่าก็คือการที่เรานำเงินไปลงทุนไว้นั้น ระบบ DeFi นั้นเป็นการพัฒนาขึ้นมาเป็น DAPPs รูปแบบหนึ่งที่ใช้ Blockchain 2.0 ของ Ethereum เป็นต้นแบบในการดำเนินการที่ใช้แนวคิดในรูปแบบของ Smart Contract เข้ามาเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองได้ เป็นการลงทุนในรูปแบบไร้ตัวกลาง อีกหนึ่งรูปแบบของวงการ คริปโตเคอเรนซี
สำหรับระบบ DeFi ที่ทำอย่างไรถึงมีผลการตอบแทนนักลงทุนกลับมาได้นั้น ก็ให้เรามองคล้าย ๆ กับการดำเนินการธุรกิจของธนาคาร ที่นำเงินฝากของบัญชีสมาชิกไปปล่อยกู้ ให้กับสมาชิกท่านอื่น ๆ แล้วนำดอกเบี้ยมาเป็นผลตอบแทนแก่สมาชิกที่ฝากเงินเข้ากับธนาคารไว้ ระบบ DeFi ก็จะทำคล้าย ๆ กันที่จะนำเหรียญ คริปโตเคอเรนซี ที่นักลงทุนนำมาฝากไว้ไปปล่อยกู้ต่อ หรือ นำไปทำการค้ำประกันสำหรับโครงการใหม่ ก็จะได้ผลตอบแทนกลับมาเช่นเดียวกันแล้วก็ให้ผลตอบแทนกลับแก่นักลงทุนเป็น APY หรือ Average per year โดยที่รูปแบบการลงทุนจะเป็นการลงทุน 30 วัน 60 วัน 90 วัน หรือยาวนานกว่า ก็ขึ้นอยู่กับการกำหนดของทางระบบ DeFi ที่ตั้งไว้เพื่อดึงดูดความน่าสนใจของนักลงทุน ยิ่งลงทุนไว้นานผลตอบแทนก็จะสูงขึ้นเช่นเดียวกัน
การทำ Liquidity Pool คืออะไร ใช่การ DeFi ด้วยหรือไม่
สำหรับการลงทุนในรูปแบบของ Liquidity Pool หรือบางที่จะเรียกว่า Liquidity Swap จะเป็นการสร้างการลงทุนจาก กระดานเทรด หรือ ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน คริปโตเคอเรนซี ที่จะให้นักลงทุนนั้นฝากเหรียญ คริปโคเคอเรนซี ต่าง ๆ ตามกำหนดเข้าสู่ระบบเพื่อนำเหรียญของสมาชิกไปหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับ กระดานเทรด ได้มากขึ้น โดยผลตอบแทนให้กับนักลงทุนก็จะเป็นค่าธรรมเนียมที่มีการ ซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนกันเกิดขึ้นในเหรียญนั้น ๆ ยิ่ง กระดานเทรด ที่มีการใช้งานสูงมากเท่าไหร่ โอกาสการรับผลตอบแทนต่อปี ( APY ) ก็จะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย
ถ้ามองโดยรวมก็จะเหมือนกับการทำ DeFi อีกหนึ่งรูปแบบหนึ่ง แต่ผลอัตราการตอบแทนนั้นสูงกว่าและมีจำนวนการลงทุนหลายโปรแกรมมากกว่า ทำให้หลาย ๆ คนเริ่มหันมาสนใจการลงทุนรูปแบบนี้กันเยอะมากขึ้น แถมยังมีหลาย กระดานเทรด มากที่มีการลงทุนแบบนี้ให้เลือก การใช้งานก็ง่าย ช่วยให้เข้าใจพื้นฐานการทำงานของ Liquidity Pool ก่อนก็จะสามารถลงทุนเองได้อย่างดี
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้กับการลงทุนแบบ DeFi
ในที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นของการลงทุนแบบ DeFi หรือ Decentralized Finance นั้นจะเห็นว่ามีแต่การลงทุนที่มีการตอบแทนที่ดี เพียงแค่ฝากเหรียญเข้าระบบก็ได้รับผลตอบแทนแล้ว แล้วอะไรบ้างที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการลงทุนแบบ DeFi นี้จะมีดังนี้
- ความเสี่ยงที่จะเกิดจากราคาเหรียญที่ตกลง เป็นความเสี่ยงที่ไม่ว่าการลงทุนแบบไหนก็ตามจะเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน แต่การลงทุนแบบ DeFi นั้นจะมีเงื่อนไขที่ว่า ห้ามยกเลิกการลงทุนก่อนครบกำหนด ทำให้โอกาสการคัตลอส ( Cut loss ) ของนักลงทุนจะพลาดไปทำให้พอร์ตขาดทุนไปเรื่อย ๆ ได้
- ความเสี่ยงจากการถูก Hack ของผู้ให้บริการ DeFi มีอยู่หลาย ๆ ครั้งที่จะมีข่าวการถูกแฮกของเว็บไซต์ที่ให้บริการ DeFi เป็นความเสี่ยงที่เราควบคุมไม่ได้ แต่เราเลือกได้ว่าจะลงทุนกับที่ไหน มีมาตรฐานไหม มีความปลอดภัยหรือเปล่า
- ความเสี่ยงจากการถูกโกงจาก ผู้พัฒนาระบบ DeFi เป็นความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบ่อยเช่นกัน บางระบบ DeFi จะใช้ตัวล่อที่เป็นอัตราผลตอบแทนสูงมาก มาเป็นสิ่งที่จะทำให้นักลงทุนหลงเชื่อ พอมีการลงทุนมากเข้าระบบก็จะปิดตัวไปและเชิดเงินนักลงทุนเลยทันที เพราะฉะนั้นอย่าลืมเลยว่า การลงทุนมีความเสี่ยงเสมอ ให้ศึกษาให้ดี ให้ตรวจสอบให้รอบคอบก่อนการลงทุนทุกครั้ง