บทสรุปการเก็บภาษีและยื่นภาษี คริปโตเคอเรนซี

บทสรุปการเก็บภาษีและยื่นภาษี คริปโตเคอเรนซี และวิธีคิดต้นทุน

ประเด็นการเรียกเก็บภาษีเหรียญ คริปโตเคอเรนซี ได้ร้อนแรงมาต้องแต่ปลายปี 64 จนถึงต้นปี 65 ซึ่งได้ถูกพูดถึงกันมากที่สุดในช่วงตลอด 2 ถึง 3 เดือนที่ผ่านมา เรื่องการจัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี โดย วีระพล บดีรัฐ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายพัฒนาการให้คำปรึกษาลูกค้า และ K WEALTH GURU ธนาคารกสิกรไทย ได้อธิบายว่า ภาษี คริปโตเคอเรนซี ถือว่าเป็นประเด็นสำคัญที่นักลงทุนให้ความสนใจอย่างใกล้ชิด เพราะมีจำนวนนักลงทุนในตลาด คริปโตเคอเรนซี ได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด

บัญชีของนักลงทุนเหรียญ คริปโตเคอเรนซี เพิ่มขึ้นเพียงหลักหมื่น

ข้อมูลจากศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในเดือน พ.ย. 64 ที่ผ่านมามีจำนวนบัญชีผู้ลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลมากถึง 1,979,847 บัญชี ซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปี 64 ที่มีจำนวนบัญชีเพียงหลักหมื่นเท่านั้น หลังจากกรมสรรพากรได้ประกาศการจัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี ทำให้นักลงทุนทั้งหลายได้ชะลอการลงทุน เพื่อดูท่าทีของกรมสรรพากร ว่าจะมีการเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี ในลักษณะใด ล่าสุด กรมสรรพากรได้ประกาศแนวการปฏิบัติการจัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี ที่ชัดเจนหลายประเด็นออกมาแล้ว 

แนวทางการปฏิบัติการจัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี

แนวทางการปฏิบัติการจัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี สรุปได้เป็นประเด็นดังนี้

  1. การยกเว้นการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% เนื่องจากในปัจจุบันการซื้อขาย คริปโตเคอเรนซี ผ่าน Exchange Platform ยังไม่สามารถระบุตัวตนของผู้รับเงินได้ และยังไม่ทราบจำนวนเงินได้ที่แน่นอนที่ต้องหัก จึงเป็นเรื่องยากที่จะตรวจสอบความถูกต้อง และหักภาษีได้อย่างถูกคน จึงทำให้ไม่จำเป็นต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ นั่นเอง
  2. ผู้ลงทุนสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกำไรในปีภาษีเดียวกันได้ เพื่อใช้คิดเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ซึ่งจากเดิมที่ให้คิดเฉพาะรายการที่ผู้ลงทุนได้กำไรเท่านั้น ซึ่งก็ได้รับเสียงวิจารณ์เป็นอย่างมากถึงความไม่เป็นธรรมกับนักลงทุนเอง

วิธีการคิดต้นทุนการเก็บภาษีเหรียญ คริปโตเคอเรนซี

  1. วิธีการคิดต้นทุน สามารถทำได้ 2 วิธี คือคิดแบบวิธี FIFO หรือวิธี เข้าก่อน-ออกก่อน First in, First out และวิธีต้นทุนถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ หรือ Moving Average Cost นั่นเอง
  2. การวัดมูลค่าสินทรัพย์ดิจิทัล ให้วัด ณ เวลาที่ได้มา

กรมสรรพากรได้ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ในการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องในอนาคตเกี่ยวกับการเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี เช่น การให้เจ้าของ Exchange Platform เป็นผู้ดูแลในการหักและนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายกับสรรพากรเอง ในขณะที่สหรัฐฯ ได้จัดเก็บภาษี คริปโตเคอเรนซี อัตราเดียวกับหลักทรัพย์ทางการเงินอื่น ๆ อย่างหุ้น และสามารถนำผลขาดทุนมาหักลบกับรายได้ที่ใช้คำนวณภาษี คริปโตเคอเรนซี ในกรณีที่ไม่มีเงินได้จากการขายหลักทรัพย์ดิจิทัลอีกด้วย