ความแตกต่างระหว่าง คริปโตเคอเรนซี และสกุลเงินดิจิทัล โดย Sitharaman

Sitharaman อธิบายความแตกต่างระหว่าง คริปโตเคอเรนซี และสกุลเงินดิจิทัล

Nirmala Sitharaman รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของประเทศ อินเดีย ประกาศระหว่างปราศรัยงบประมาณปี 2022 – 2023 ว่า สินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งรวมถึงสกุลเงินดิจิทัล คริปโตเคอเรนซี และ Token ต่าง ๆ ( NFTs ) จะถูกเก็บภาษีรายได้ 30% งานประกาศดังกล่าวทำให้นักลงทุนใน คริปโตเคอเรนซี และ NFT ส่วนใหญ่เกิดความสงสัยเกี่ยวกับอนาคตของสินทรัพย์ของพวกเขา แต่ผู้คนส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรม คริปโตเคอเรนซี ก็มองเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก เนื่องจากการเก็บภาษีทุกรูปแบบหมายความว่ามีโอกาสจะไม่ถูกแบนในประเทศ อินเดีย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราผู้คนในอุตสาหกรรม คริปโตเคอเรนซี นั้นจะยอมรับมาตรฐานที่ทางรัฐบาลได้กำหนดนี้ ซึ่งต้องรอดูกันต่อไปว่ารัฐบาลจะตัดสินใจใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศ อินเดีย อย่างไร

ธนาคารกลาง อินเดีย (RBI) เตรียมเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของตัวเอง

ตอนนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังประกาศอีกว่าธนาคารกลางของ อินเดีย (RBI) เตรียมตัวที่จะเปิดสกุลเงินดิจิทัลในไม่ช้านี้ ซึ่งสกุลเงินดิจิทัลของ RBI จะมีชื่อเรียกว่า CBDC ซึ่งเป็นชื่อเรียกสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง แล้วที่ผ่านมาก็มีการทดลองใช้มาหลายเดือนแล้ว และทาง Sitharaman ยังได้กล่าวเสริมอีกว่า 

“การเปิดตัวสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลางจะช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจในโลกดิจิทัลเป็นอย่างมาก สกุลเงินดิจิทัลของเราจะนำไปสู่ระบบการจัดการสกุลเงินที่มีประสิทธิภาพและราคาถูกลง”

การมาของ CBDC หลังจากที่มีการประกาศเก็บภาษีรายได้สำหรับสินทรัพย์ดิจิทัลทำให้หลายคนสับสนว่า CBDC ควรถูกเก็บภาษีด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม CBDC เป็นสกุลเงินดิจิทัลไม่ใช่สินทรัพย์ดิจิทัล แบบ NFT แต่ CBDC เป็นสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยรัฐบาลในขณะที่สกุลเงินดิจิทัลอื่น ๆ เป็นแหล่งเก็บมูลค่าที่ปลอดภัย ที่ใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน นี่จึงเป็นการขายข้อแตกต่างระหว่างสกุลเงินดิจิทัลทั้งหลายที่อาจจะถูกเก็บภาษีรายได้ในประเทศ อินเดีย ในประเทศ อินเดีย นั้นมีการเติบโตของอุตสาหกรรม คริปโตเคอเรนซี อย่างก้าวกระโดดเป็นอย่างมาก เนื่องจากช่วงที่มีการเกิดการแพร่ระบาด นั้นมีผู้ใช้ต่าง ๆ มากมาย ที่หันมาเก็บเงินในกระเป๋าเงินแบบดิจิทัลมากขึ้น

แหล่งข่าว: businesstoday.in