กรณี เวิร์มโฮล ( Wormhole ) โปรโตคอลที่เชื่อมต่อกับโซลานา ( Solana ) และบล็อกเชน DeFi อื่นๆ ได้ถูกแฮกเกอร์โจมตี และได้ขโมยเงิน คริปโตเคอเรนซี ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายใน 120,000 WETH หรือคิดเป็นมูลค่ารวม 320 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำนักข่าว “บลูมเบิร์ก” ได้รายงานว่า การโจรกรรมครั้งนี้ถือว่าเป็นการขโมย คริปโตเคอเรนซี จากโปรโตคอลครั้งใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ทีอาร์เอ็ม แล็บส์ ( TRM Labs ) บริษัทตรวจสอบบล็อกเชนได้ระบุว่า ได้มีการส่งเหรียญ WETH ที่ถูกขโมยไป 96,000 เหรียญ เข้าสู่บล็อกเชน อิเธอเรียม แล้ว
ยื่นข้อเสนอให้นักแฮกเกอร์คืนเหรียญ คริปโตเคอเรนซี ที่ขโมยไป
ทีมงานของเวิร์มโฮลได้ยื่นข้อเสนอให้กับแฮกเกอร์ ซึ่งพวกเขาได้เสนอเงินรางวัล 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ให้กับแฮกเกอร์แลกกับการเปิดเผยช่องโหว่ที่พวกเขาใช้โจมตี และขอให้พวกเขาคืนเงิน คริปโตเคอเรนซี ที่ขโมยไป ทีมงานยังได้ทวิต ข้อความที่ระบุว่า จะมีการเพิ่มเหรียญ อิเธอเรียม เข้าสู่โปรโตคอล เพื่อใช้เป็นหลักให้เหรียญ WETH และทำให้ระบบสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ ตอนนี้มีเงินปลอมถูกปล่อยเข้ามาในแบงก์เป็นจำนวนมาก และแบงก์ก็ปล่อยเงินปลอมเข้าไปสู่ในระบบ ผลกระทบเกิดเป็นวงกว้าง แต่หากสามารถนำ อิเธอเรียม มาอิงเหรียญ WETH ได้จริง ๆ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็ทำให้แพลตฟอร์ม DeFi เสียความน่าเชื่อถือไปนั่นเอง
DiFi ไม่มีระบบรักษาความปลอดภัย ทำให้เหรียญ คริปโตเคอเรนซี ถูกโจรกรรม
นายทอม โรบินสัน ผู้ร่วมก่อตั้งเอลลิปติก ( Elliptic ) บริษัทวิเคราะห์บล็อกเชน ได้ออกมาเปิดเผยอีกว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ได้แสดงให้เห็นว่า บริการ DeFi ของหลาย ๆ เจ้ายังไม่มีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ สำหรับการปกป้องสินทรัพย์ ดิจิทัล มูลค่ามหาศาลที่เก็บไว้ และความโปร่งใสของเทคโนโลยีบล็อกเชน ซึ่งทำให้แฮกเกอร์สามารถค้นหา และใช้จุดอ่อนต่าง ๆ โจมตีระบบได้
โบรกเกอร์ไทยชี้ไม่กระทบต่อตลาด คริปโตเคอเรนซี ในประเทศไทย
การโดนแฮกเกอร์โจรกรรมครั้งนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ ดิจิทัล และโบรกเกอร์สินทรัพย์ ดิจิทัล ในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตตามกฎหมาย และแจ้งว่าระบบที่ถูกแฮกเกอร์โจมตีเป็นระบบ DeFi ที่สร้างด้วยบนเทคโนโลยี Smart Contract ซึ่งเป็นคนละระบบกับทางศูนย์การซื้อขายสินทรัพย์ ดิจิทัล ในประเทศไทยนั่นเอง และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.ล.ต. ดังนั้นจึงไม่ได้เข้าไปเกี่ยวข้อง
ก.ล.ต. มีการพิจารณาถึงแนวทางการคุ้มครองนักลงทุน คริปโตเคอเรนซี เพื่อคุ้มครองนักลงทุน และในขณะนี้มีการร่างหลักเกณฑ์และอยู่ในระหว่างการเฮียริ่ง เช่น การห้ามศูนย์สินทรัพย์ ดิจิทัล ในไทย โปรโมท DeFi, การห้ามเข้าไปมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับ DeFi และการห้ามนำสินทรัพย์ ดิจิทัล ของลูกค้าไปใช้หาผลตอบแทน นั่นเอง